DSpace Repository

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหินกรูด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนวดี บุญลือ
dc.contributor.author บัณรสี ชวาลศิลป์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-24T08:10:03Z
dc.date.available 2020-09-24T08:10:03Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9741307187
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68148
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ทัศนคติและการยอมรับการ สร้างโรงไฟฟ้าหินกรูดของประชาชนที่อยู่ใน ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นบริเวณที่ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการศึกษาจำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อ มูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความที่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยง เบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ซึ่งประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PCผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหินกรูดในระดับตํ่า 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติเป็นกลางต่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหินกรูด รองลงมาได้แก่ทัศนคติเชิงลบ และน้อยที่สุดเป็นทัศนคติเชิงบวก 3. พบว่ากลุ่มตัวอย่างแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือกลุ่มตัวอย่างที่มีการยอม รับหรือเห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด กลุ่มที่ไม่ยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด และกลุ่มที่ยัง ไม่ตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ 4. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า มีตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนการยอม รับการสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูดของกลุ่มตัวอย่าง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียง 2 ตัวแปร โดยมีความ สำคัญตามลำดับคือ ทัศนคติต่อการสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด และความรู้เรื่องโรงไฟฟ้าหินกรูด ซึ่งทั้งหมด เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลในทางบวก
dc.description.abstractalternative The objective of this thesis is to study media exposure, knowledge, attitude and acceptance of the people who live in Tambon Tongchai 1, Bangsapan District, Prachuab Kirikhanin Province to Hin Krut power plant project. The 389 samples were randomized among local people in this area.Questionnaires were used to collect data. Data analysis is based on frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis 1 SPSS for window program was used for data processing. The research findings are as follows 1.The majority of respondents have low-level of knowledge about Hin Krut power plant project. 2. Most of the respondents have neutral attitude to the construction of Hin Krut power plant. 3. The respondents can be devided into 3 groups with equal ratio; the first group is the group who agree with the construction of Hin Krut power plant 1the second is the group who do not agree with this project and the last one is the group who haven't yet decided. 4. The multiple regression analysis reveals that attitude and knowledge are two variables able to explain the acceptance of Hin Krut power plant construction project significantly
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรงไฟฟ้าหินกรูด
dc.subject การสื่อสาร
dc.subject ช่องทางการสื่อสาร
dc.subject การเปิดรับข่าวสาร
dc.title การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหินกรูด
dc.title.alternative Media exposure, knowledge, attitude and acceptance in Hin Krut Power Plant Project
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตรพัฒนาการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record