Abstract:
การวิจัยครังนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและอุปสรรคที่เกิดขี้นในการทำงานด้านการป้องกันการ ทารุณกรรมและการทอคทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับสวัสดีภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านนี้เกี่ยวกับรูปแบบการป้องกันระดับปฐมภูมิที่เหมาะสมกับสังคมไทย โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ระดับนโยบาย ที่รับผิดชอบงานป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กของ หน่วยงานที่ทำงานคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำทารุณและเด็กที่ถูกทอดทิ้ง จำนวนทั้งสิน 49 คนจาก 26 หน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่านผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับสวัสดีภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีนโยบาย แผนงาน การปฏิบัติงาน และการประเมิน ด้านการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ 2. ร้อยละ 89.8 ของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการจัดกิจกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิด้านการส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าของเด็กและร้อยละ 83.7 มีการจัดกิจกรรมการป้องกันระดับปฐมภูมิด้านการไม่สนับสนุนให้มีการลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีหรือวิธีการที่รุนแรงต่างๆ 3. เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ปีญหาด้านบุคลากรและปัญหาด้านโครงสร้างทางสังคม เป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงานด้านการป้องกันระดับปฐมภูมิ 4. ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิที่เหมาะสมกับสังคมไทยที่สุด คือ การจัดอบรมให้ความรู้แก่บิดามารดาและผู้ดูแลเด็ก 5. ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบของสื่อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุ โดยต้องการให้เน้นถึงการปลูกจิตสำนึก ของสาธารณชนเกี่ยวกับ สิทธิของเด็ก ทักษะการเป็นบิดามารดาและทักษะการเลียงดูเด็ก รวมทังเครือข่ายและ เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่สามารถแจ้งเช้าไปได้เมื่อสงสัยว่ามีการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กเกิดขึ้น