DSpace Repository

การป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยกับสวัสดิภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมพล สูอำพัน
dc.contributor.author น้ำเพชร บัญญัติศุภศิล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-25T04:38:51Z
dc.date.available 2020-09-25T04:38:51Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.issn 9743349529
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68179
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยครังนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและอุปสรรคที่เกิดขี้นในการทำงานด้านการป้องกันการ ทารุณกรรมและการทอคทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับสวัสดีภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านนี้เกี่ยวกับรูปแบบการป้องกันระดับปฐมภูมิที่เหมาะสมกับสังคมไทย โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ระดับนโยบาย ที่รับผิดชอบงานป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กของ หน่วยงานที่ทำงานคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำทารุณและเด็กที่ถูกทอดทิ้ง จำนวนทั้งสิน 49 คนจาก 26 หน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่านผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับสวัสดีภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีนโยบาย แผนงาน การปฏิบัติงาน และการประเมิน ด้านการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ 2. ร้อยละ 89.8 ของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการจัดกิจกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิด้านการส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าของเด็กและร้อยละ 83.7 มีการจัดกิจกรรมการป้องกันระดับปฐมภูมิด้านการไม่สนับสนุนให้มีการลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีหรือวิธีการที่รุนแรงต่างๆ 3. เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ปีญหาด้านบุคลากรและปัญหาด้านโครงสร้างทางสังคม เป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงานด้านการป้องกันระดับปฐมภูมิ 4. ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบการป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิที่เหมาะสมกับสังคมไทยที่สุด คือ การจัดอบรมให้ความรู้แก่บิดามารดาและผู้ดูแลเด็ก 5. ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบของสื่อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุ โดยต้องการให้เน้นถึงการปลูกจิตสำนึก ของสาธารณชนเกี่ยวกับ สิทธิของเด็ก ทักษะการเป็นบิดามารดาและทักษะการเลียงดูเด็ก รวมทังเครือข่ายและ เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่สามารถแจ้งเช้าไปได้เมื่อสงสัยว่ามีการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กเกิดขึ้น
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to determine strategies and obstacles to primary prevention work of child abuse and neglect by child welfare agencies in Bangkok, including the primary prevention strategies suitable to the Thai society. The participants of this study consisted of 49 administrative officers from 26 organizations protecting abused and neglected children in Bangkok, both govermental and non-govermental. To obtain the required data, the questionnaire approved content validity from 10 experts were employed. In this study, it was found that most child welfare agencies in Bangkok had policies, plans, activities and evaluation of primary prevention of child abuse and neglect. Of the 49 administrative officers, 44 (89.8%) increased the value of children and 41 (83.7%) discouraged excessive use of corporal punishment and other forms of violence as primary prevention strategies. Most of the sample showed that the personnel problems as well as the Thai social structure were the critical obstacles to their primary prevention work. According to the samples' opinions, a parent and child caregiver education program was approved as the most suitable primary prevention strategy for the Thai society. In addition, most of the administrative officers stated that the most effective media were public service announcements on the television and radio, with the emphasis of raising awareness to the general public about child rights, parenting and child nurturing skills, including network and telephone numbers of agencies where to report suspected child abuse and neglect.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การทารุณเด็ก
dc.subject เด็ก -- การสงเคราะห์
dc.subject เด็กที่ถูกทอดทิ้ง
dc.title การป้องกันการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเด็กระดับปฐมภูมิ ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยกับสวัสดิภาพของเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Primary prevention of child abuse and neglect by child welfare agencies in Bangkok Metropolis
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขภาพจิต
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record