Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งสำรวจสถานภาพของการศึกษาการสื่อสารระดับวัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่ง ครอบคลุมถึงการสื่อสารต่างวัฒนธรรม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การสื่อสารนานาชาติ และการสื่อสาร ข้ามวัฒนธรรมผ่านสื่อ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร (Documentary research) เพื่อวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ เกี่ยว กับการสื่อสารระดับวัฒนธรรมจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตั้งแต่ปีที่เริ่มมีการศึกษาวิจัยทางด้านนี้คือปี พ.ศ. 2526 จนถึงปี พ.ศ. 2542 รวมทั้งสิ้น 39 เล่ม ทั้งนี้ จะเลือกเฉพาะการศึกษาที่สังกัดคณะที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสื่อสารเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารระดับวัฒนธรรมที่พบมากคือ แนวคิดเกี่ยวกับ องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารระดับวัฒนธรรม ได้แก่ลักษณะของความแตกต่างทางวัฒนธรรม และค่านิยมต่างๆ 2. ประเด็นในการศึกษาส่วนมากเป็นการศึกษาในระดับการสื่อสารต่างวัฒนธรรม หัวข้อที่มีการ ศึกษามากสุดคืออิทธิพลทางจิตวิทยา รองลงมาเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรม ระดับและบริบทการสื่อสารที่ พบมากคือระดับประเทศและบริบทการนำเสนอของ สื่อมวลชน และคู่สัมพันธ์ที่พบมากได้แก่คู่สัมพันธ์ใน บริบทขององค์กรเซ็น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และระหว่างเพื่อนร่วมงาน 3. วิธีวิทยาการวิจัย ส่วนมากเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การศึกษาจากเอกสารและการวิเคราะห์ เนื้อหา รองลงมาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามทั่วไปเป็นเครื่องมือในการวิจัย นอกจากนี้ ยังมี การผสมผสานกันระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงทดลองด้วย วิธีการเลือก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้ แบ่งได้เป็นลักษณะทางประชากร รูปแบบพฤติกรรมการสื่อสาร อิทธิพลทางวัฒนธรรม อิทธิพลทาง จิตวิทยา การปรับ ตัว ประสิทธิภาพในการสื่อสาร และทัศนคติและการกระทำ 4. ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากในการวิจัยทางด้านนี้ ได้แก่ปัญหาเกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย ซึ่ง แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นคือ ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และลักษณะงานวิจัย ส่วนปัญหาที่พบมากรองลง มาได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นไม่มีการจัดเอกสารอ้างอิงไว้อย่างเป็นหมวดหมู่