DSpace Repository

ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส
dc.contributor.author พาณี ขอสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-09-28T08:47:12Z
dc.date.available 2020-09-28T08:47:12Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743344349
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68245
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิด พิจารณาความเป็นจริงต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โดยมีสมมติฐานการวิจัยคือ หลังการทดลองนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิด พิจารณาความเป็นจริงจะมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองสูงกว่า ก่อนเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มและสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ไม่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบ ก่อนและหลังการทดลอง ( Pretest-Posttest Control Group Design ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ จำนวน 20 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากผู้ที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย — 1SD และสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่ม ทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ทั้งหมด 12 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆละ 1.30 - 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น ประมาณ 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเอง ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแบบสัมภาษณ์การเรียนรู้แบบ มีโครงสร้างของซิมเมอร์แมนและมาร์ติเนส พอนส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลองนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา แบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ไม่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) หลังการทดลองนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา แบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเองสูงกว่าก่อนเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the effect of group reality therapy on increasing self-efficacy for self-regulated learning of Mathayom Suksa five students. The hypotheses were that the posttest scores on self-efficacy for self-regulated learning scale of the experimental group would be higher than its pretest scores and the posttest scores of the control group. The research design was the pretest - posttest control group design. The sample was 20 students in Mathayom Suksa five who have low academic achievement randomly selected from the students who scored one standard deviation below the mean on the self-efficacy for self-regulated learning scale. They were randomly assigned to the experimental group, and the control group, each group comprising 10 students. The experimental group participated in a group reality therapy program conducted by the researcher, for one and a half to two hours, twice a week, over a period of 6 consecutive weeks which made approximately 20 hours. The instrument used in this study was the Self- Efficacy for Self-Regulated Learning Scale developed from the Zimmerman and Martinez- Pons’s Self-Regulated Learning Interview Schedule (SRLIS). The t-test was ultilized for data analysis. The results indicated that (1) The posttest scores on the self-efficacy for self-regulated learning scale of the experimental group were higher than the posttest scores of the control group, at .01 level of significance. (2) The posttest scores on the self-efficacy for self-regulated learning scale of the experimental group were higher than its pretest scores at .01 level of significance.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject จิตบำบัดแบบเผชิญความจริง
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subject ความสามารถในตนเอง
dc.subject การกำกับตนเองในการเรียน
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.title ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้การกำกับตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
dc.title.alternative The Effect of group reality therapy on increasing self-efficacy for self-regulated learning of mathayom suksa five students with low academic achievement
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record