DSpace Repository

การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัสสร ลิมานนท์
dc.contributor.author พนมวรรณ แสนสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-28T08:58:08Z
dc.date.available 2020-09-28T08:58:08Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743339248
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68246
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบผลของปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจและสังคม ต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรอายุ 0-3 ปี ของชายผู้ให้สัมภาษณ์ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลบางส่วนจากการ ศึกษาครอบครัวไทย (GFS) โดยเลือกตัวอย่างเฉพาะผู้ให้สัมภาษณ์เพศชายที่มีสถานภาพสมรส กำลังสมรส และมีบุตรอายุระหว่าง 0-3 ปี อย่างน้อย 1 คน ในช่วงที่สัมภาษณ์ ได้ตัวอย่าง 746 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีตารางไขว้ แล้วทดสอบด้วยค่าไควสแควร์ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายผู้ให้สัมภาษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ≤ 0.05 ผลการวิเคราะห์ในระดับ 2 ตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพของผู้ให้สัมภาษณ์ อาชีพของภรรยา ภาคที่อยู่อาศัย การศึกษา และ การช่วยงานบ้านของชายผู้ให้สัมภาษณ์ ส่วนผลการวิเคราะห์ในระดับ 3 ตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายผู้ให้สัมภาษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุกับเขตที่อยู่อาศัย (เขตเมือง) อาชีพของชายผู้ให้สัมภาษณ์กับระดับการศึกษา (ประถมศึกษา) แบบของครอบครัวกับเขตที่อยู่อาศัย (ชนบท) ทัศนคติต่อบทบาทของชายในครอบครัวกับระดับการศึกษา (ประถมศึกษา) และ การช่วยงานบ้านกับเขตที่อยู่อาศัย (เขตเมือง) เมื่อนำปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมมาวิเคราะห์ในแบบการวิเคราะห์จำแนกพหุ พบว่าอาชีพของภรรยา และการช่วยงานบ้านของผู้ให้สัมภาษณ์ มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายผู้ให้สัมภาษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05 และ ≤ 0.001 ตามลำดับโดยความสัมพันธ์ ดังกล่าวเป็นไปตามสมมุติฐาน และหลังจากควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระตัวอื่น ๆ รวมทั้งควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระอื่น ๆ พร้อมกับตัวแปรผันร่วม พบว่า ความสามารถในการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของทั้งสองตัวแปรลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แสดงว่า อาชีพของภรรยา และการช่วยงานบ้าน ของผู้ให้สัมภาษณ์มีผลโดยตรงต่อการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายผู้ให้สัมภาษณ์
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate the effects of socio-economic and demographic factors on differentials of Thai male participation in child rearing. The data used in this analysis were taken from the General Family Survey (GFS.) conducted in 1994 by Institute of Population Studies, Chulalongkorn University. The sample of this study represented a total of 746 males currently married males who had a child aged 0-3 years old. Cross-tabulations analysis, chi-squared test and Multiple Classification Analysis were used for analyzing data. The results of two-way cross-tabulations analysis showed that several variables such as occupation, wife's occupation, region, educational level and household chores had the effects on differentials of male participation in child rearing at less than 0.05 level of statistical significance. The results of three-way cross-tabulations analysis showed that several variables such as age, occupation, family type, attitude toward sex-role and household chores had the effects on differentials of male participation in child rearing at less than 0.05 level of statistical significance. The Multiple Classification Analysis method was used to analyze the relationship between male participation in child rearing and selected socio-economic and demographic variables. It was found that wife's occupation and household chores had an influence on male participation in child rearing as hypothesized.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เด็ก -- การเลี้ยงดู
dc.subject บิดาและบุตร
dc.title การมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของชายไทย
dc.title.alternative Thai male participation in child rearing
dc.type Thesis
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record