Abstract:
สํานักเสนาะดุริยางค์ มีชื่อเสียงในสังคมไทยตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน มีการ สืบสกุลตระกูล “สุนทรวาทิน” มา 4 ชั่วอายุคน พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป็นผู้มี บทบาทสําคัญในการถ่ายทอดวิชาดนตรีแก่สังคมไทยและราชสํานัก เป็นผู้สร้างเพลงและวงดนตรี ไทยให้วิจิตรถึงขั้นอุดมคติ หลักการประพันธ์เพลงมโหรีมี 3 รูปแบบคือ 1. เพลงเกร็ดมโหรี 2. ตับเพลงมโหรี 3. ตับ เรื่องมโหรีซึ่งใช้เพื่อการขับกล่อม การแต่งเพลงเกร็ดกระทําโดยศึกษาเพลงของเก่าหรือใช้ จินตนาการ การแต่งจากเพลงต้นแบบด้วยการขยายหรือลดอัตราจังหวะ ให้ดูตัวโน้ตที่ตกจังหวะ หนักและเบาและโครงสร้างประโยคเพลงโดยยึดเป็นต้นแบบด้านการสร้างสํานวนเพลง หากต้น แบบมีทํานองตบแต่งพิเศษให้นํามาบรรจุในบทเพลงที่ประพันธ์ด้วย ส่วนเพลงตับมโหรีทั้ง 2 ประเภทมีหลักพื้นฐานเดียวกัน ในเรื่องความคล้ายคลึงของประโยคเพลง อัตราจังหวะ ท่วงที่ลีลา กับทั้งมีบทร้องสําหรับร้อง-ส่ง ส่วนตับเรื่องมีความพิเศษที่เนื้อบทร้องต้องยกมาเป็นตอนจากวรรณคดี หรือบทกลอนพระ ราชนิพนธ์ ตอนใดตอนหนึ่ง หลักการทั้งสิ้นใช้บันไดเสียงในกลุ่มของทางเพียงออล่าง ทางเพียงออ บน ทางชะวา และทางกลางอาจใช้สําเนียงทํานองต่างชาติ ดัดแปลงผสมได้ ทั้งนี้ให้คํานึงถึงหลัก การขับกล่อมเพื่อสันทนาการหรือสําเริงอารมณ์เพียงอย่างเดียว ไม่นําไปบรรเลงเพื่อการแสดง หรือ ประกอบการอื่นๆ