Abstract:
การกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญานั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละฐานความผิด ซึ่งมีบทกำหนดโทษแตกต่างกันตามลักษณะความผิดและความร้ายแรงของฐานความผิด และในปัจจุบันยังมิไต้มีการพิสูจน์โดยแน่ชัดถึงความสัมพันธ์ในการกำหนด อายุความในคดีอาญาว่าพิจารณาจากฐานความผิดและอัตราสูงสุดของโทษที่จะลง หรือจากอัตรา สูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากพิจารณาจากอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่าง เดียวจะเป็นปัญหาว่าการกระทำความผิดในลักษณะพยายามหรือผู้ใช้ในกรณีที่ความผิดที่ใช้มิได้ กระทำลง หรือผู้สนับสนุน และทำนองเดียวกันในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจใน การกำหนดโทษ การกำหนดอายุความจะมีความแตกต่างกันไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาแนวความคิดและการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาของกฎหมายต่างประเทศทั้งในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) รวมทั้งการกำหนดอายุความในคดีอาญาตามกฎหมายไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาพิจารณาจากฐานความผิด และอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงกับการกำหนดอายุความฟ้องคดีอาญาพิจารณาจากอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่างเดียว โดยวิเคราะห์ถึงเจตนารมย์ของกฎหมายและผลกระทบในการบังคับใช้ กฎหมาย รวมถึงโครงสร้างความรับผิดทางอาญา พบว่าความสัมพันธ์ในการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) มีความแตกต่างคัน และการบังคับใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความของนักกฎหมายไทยก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน นอกจากนี้วิทยานิพนธ์นี้จึงศึกษาวิเคราะห์และ สรุปผลความสัมพันธ์ในการกำหนดอายุความฟ้องคดีอาญาที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย และเจตนารมย์ของกฎหมายในเรื่องอายุความว่าควรพิจารณากำหนดอายุความโดยสัมพันธ์กับฐาน ความผิดและอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงในการกระทำความผิดนั้น ๆ