DSpace Repository

อายุความในคดีอาญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor มัทยา จิตติรัตน์
dc.contributor.author อรุณี อนันตชัยศิลป์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-05T07:04:28Z
dc.date.available 2020-10-05T07:04:28Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743344233
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68285
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญานั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละฐานความผิด ซึ่งมีบทกำหนดโทษแตกต่างกันตามลักษณะความผิดและความร้ายแรงของฐานความผิด และในปัจจุบันยังมิไต้มีการพิสูจน์โดยแน่ชัดถึงความสัมพันธ์ในการกำหนด อายุความในคดีอาญาว่าพิจารณาจากฐานความผิดและอัตราสูงสุดของโทษที่จะลง หรือจากอัตรา สูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากพิจารณาจากอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่าง เดียวจะเป็นปัญหาว่าการกระทำความผิดในลักษณะพยายามหรือผู้ใช้ในกรณีที่ความผิดที่ใช้มิได้ กระทำลง หรือผู้สนับสนุน และทำนองเดียวกันในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจใน การกำหนดโทษ การกำหนดอายุความจะมีความแตกต่างกันไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาแนวความคิดและการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาของกฎหมายต่างประเทศทั้งในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) รวมทั้งการกำหนดอายุความในคดีอาญาตามกฎหมายไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาพิจารณาจากฐานความผิด และอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงกับการกำหนดอายุความฟ้องคดีอาญาพิจารณาจากอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงเพียงอย่างเดียว โดยวิเคราะห์ถึงเจตนารมย์ของกฎหมายและผลกระทบในการบังคับใช้ กฎหมาย รวมถึงโครงสร้างความรับผิดทางอาญา พบว่าความสัมพันธ์ในการกำหนดอายุความฟ้องร้องคดีอาญาในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) มีความแตกต่างคัน และการบังคับใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความของนักกฎหมายไทยก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน นอกจากนี้วิทยานิพนธ์นี้จึงศึกษาวิเคราะห์และ สรุปผลความสัมพันธ์ในการกำหนดอายุความฟ้องคดีอาญาที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย และเจตนารมย์ของกฎหมายในเรื่องอายุความว่าควรพิจารณากำหนดอายุความโดยสัมพันธ์กับฐาน ความผิดและอัตราสูงสุดของโทษที่จะลงในการกระทำความผิดนั้น ๆ
dc.description.abstractalternative In order to define the duration of the prescription in criminal law, according to the penal code. It depends on the penalty of different offences, also its relating the sentences and the cases. At the moment, there still has no verification and certainty relating to define the prescription in criminal law; judged whether on the liabilities and the highest-rate of penalty; or only the highest-rate of penalty, though, the consideration on the highest-rate of penalty. Though, the consideration on the highest-rate of penalty only, this will cause problem of liabilities for the person or the supporter, that attempt to commit an offence, which has not been committed, on the same circumstance, in the case of the court of justice that enforced and enacted for the penalty; and defined the prescription in criminal law on the different basis. The main purpose of this thesis is studying the definition of the prescription in criminal law, civil law and common law of foreign country, altogether with the Thai prescription in criminal law, since from the past up to present time, and to study the comparison of definition of the prescription in criminal law, judging on the liabilities and the highest-rate of penalty, also the prescription in criminal law only on the highest-rate of penalty. In analysis of the intention of the law and its consequence of enforcement, including the framework and criminal liability; found that there is a differential relationship between the prescription in civil and common law. Beside the enforcement of the penal code, concerning the prescription in law of Thai lawyers, they are also having a different point of view and idea. This thesis is studying and analysing also concluding, the result of the relationship of the prescription in criminal law and its enforcement in properly. The intention of enforcement about the prescription in law would relate on liability and offence at the highest-rate of that penalty.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject กฎหมาย -- ความรับผิดทางอาญา
dc.subject อายุความ (คดีอาญา)
dc.subject อายุความ
dc.subject การฟ้อง
dc.title อายุความในคดีอาญา
dc.title.alternative Prescription in criminal law
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record