dc.contributor.advisor | วิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล | |
dc.contributor.author | เสริมยศ ธรรมรักษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-10-06T07:26:55Z | |
dc.date.available | 2020-10-06T07:26:55Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.isbn | 9743339027 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68348 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการวางสินค้าในละครโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ กระบวน การการวางสินค้าในละครโทรทัศน์ รวมถึงประสิทธิผลการวางสินค้าในละครโทรทัศน์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องในบริษัทผู้ผลิตละครและเจ้าของ สินค้าหรือบริษัทตัวแทนโฆษณา การสนทนากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งชายและหญิง สายวิทยาศาสตร์และสายสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการวางสินค้าในละครโทรทัศน์ประกอบด้วย 1) รูปแบบการวางสินค้าโดยใช้ภาพอย่างเดียว ซึ่งมีการนำเสนอภาพหลายลักษณะดังนี้ ภาพตัวละครหยิบ ถือ หรือใช้สินค้า ภาพสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก ภาพการสาธิตการใช้งานของสินค้า และภาพสินค้าอย่างเดียว 2) รูปแบบการวางสินค้าโดยประกอบด้วยทั้งภาพและเสียง นอกจากการนำเสนอภาพแล้วยังมีการเอ่ยถึงคุณสมบัติ ชื่อสินค้าหรือสิ่งใด ๆ ที่เน้นย้ำสินค้าด้วยองค์ประกอบเสียงควบคู่ไปด้วย 2.กระบวนการการวางสินค้าในละครประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ บริษัทผู้ผลิตละครบริษัทเจ้าของสินค้าและ/หรือบริษัทตัวแทนโฆษณา เหตุที่บริษัทผู้ผลิตละครมีการวางสินค้าในละครเพราะสภาพเศรษฐกิจ ความจำเป็นที่ต้องใช้สินค้าประกอบในละคร การอนุเคราะห์โดยการวางสินค้าให้กับเจ้าของสินค้า และเหตุผลด้านพัฒนาการขายโฆษณา วัตถุประสงค์ที่บริษัทเจ้าของสินค้าในละครคือ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก เพื่อตอกย้ำตราสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้ากระบวนการการวางสินค้าเริ่มจากบริษัทผู้ผลิตละครพิจารณาบทละครในด้านความจำเป็นที่ต้องมีสินค้าประกอบฉาก หลักจากนั้นยื่นข้อเสนอฉากที่สินค้าเข้าไปเกี่ยวข้องต่อเจ้าของสินค้าหรือบริษัทตัวแทนโฆษณาจนกระทั้งถึงขั้นตอนการผลิตละครตามที่กำหนดไว้และส่งหลักฐานยืนยันการวางสินค้าให้กับเจ้าของสินค้าและท้ายที่สุดของกระบวนการคือละครออกอากาศตามที่กำหนดไว้ 3.ประสิทธิผลการวางสินค้าในละคร พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เกิดการตระหนักรู้มีสัดส่วนที่ไม่ แตกต่างกันมากนักจากกลุ่มตัวอย่างที่ตระหนักรู้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เช้าใจว่าการวางสินค้าเป็นการสนับ สนุนละครมีการจ่ายค่าตอบแทนกัน ด้านความรู้สึกต่อวิธีการวางสินค้าพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยและยอมรับต่อวิธีการวางสินค้าแด่ต้องอยู่ภายใต้ความเหมาะสม ไม่เน้นสินค้าอย่างเด่นชัดเกินไป ในขณะที่บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการวางสินค้าเพราะรู้สึกว่าเป็นการยัดเยียด การวางสินค้าในละครไม่มีผลต่อแนวโน้มต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพราะการตัดสินใจซื้อสินค้าเกิดจากหลายเหตุผลประกอบกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างบางส่วนเห็นว่าดารามีส่วนโน้มน้าวจูงใจให้เกิดความสนใจในสินค้า | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study the format, objectives, process and the effectiveness of product placement in TV. dram a. The research is qualitative in nature using depth interview with TV. dram producers, advertisers, and/or advertising people; and focus group discussion of m ale and fem ale high school students. The research results are: 1.The format of product placement in TV. drama includes: 1) Visual only form at which portrays the product used by the actor/actress or used as props, product demonstration, and product pack-shot; 2) Audio and visual form at which not only show the product but also mention about the brand and its benefits. 2.The process of the product placement involves related parties as TV. drama producers, advertisers, and/or advertising agencies. Reasons for using product placement are economic recession, the necessity of having product as props, and product advertising as source of income. Meanwhile an advertiser's objective is to create brand awareness, to enhance brand recall and to build brand image. Product placement process starts from TV. dram a producer reviewing script and considering if the product placement is appropriate, then, propose to the advertisers or advertising agencies. If they agree with the proposal, both parties would discuss about term s and conditions. After that, TV. producer would present the scene, which the product can be put on display, to the advertisers or advertising agencies. The last step is that the drama is on air as scheduled. 3. The effectiveness of the product placement: the number of samples who are aware of the product placement and those who are not is not different. Most of them think that product placement is another kind of sponsorship and have positive attitudes towards it. However, the placement should be appropriately managed. Only a few samples feel that they are forced to see the product placement. However, the product placement does not affect the purchasing behavior of most samples. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | การวางตำแหน่งสินค้า (โฆษณา) | |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ | |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | |
dc.subject | โฆษณาทางโทรทัศน์ | |
dc.title | กระบวนการและประสิทธิผลของการวางสินค้าในละครโทรทัศน์ | |
dc.title.alternative | Process and effectiveness of product placement in TV. drama | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การโฆษณา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |