DSpace Repository

ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ DOTS-แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ของผู้ให้บริการทางสุขภาพในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor องอาจ วิพุธศิริ
dc.contributor.author ไพบูลย์ เอี่ยมอินทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-07T07:46:17Z
dc.date.available 2020-10-07T07:46:17Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743344306
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68398
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ DOTS - แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติของผู้ให้บริการทางสุขภาพในจังหวัดชลบุรี ทั้งหมดโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 1805 คน การสำรวจได้ใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองที่ผ่านการทดสอบแล้ว เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 7 มกราคม - 10 มีนาคม 2543 จำนวนผู้ตอบกลับทั้งสิ้น 1508 คน (ร้อยละ 83.5) จำแนกเป็นผู้ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค โดยตรง 209 คนและผู้ไม่ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค 1299 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้บริการทางสุขภาพที่ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (5.4:1) อายุเฉลี่ย 34.95 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 61.6 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ร้อยละ 38.1, 32.7, และ 24.8 ตามลำดับ มีระยะเวลาปฏิบัติราชการเฉลี่ย 12.98 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นพยาบาลร้อยละ 64.2 มีหน้าที่หลักในการให้บริการร้อยละ 79.2 ไม่เคยอบรมงานควบคุมวัณโรคตามแนวทางใหม่ร้อยละ 88.6 ไม่ได้ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคร้อยละ 86.1 ความรู้และเจตคติของผู้ให้บริการทางสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ตาม เพศ อายุ ระยะเวลาปฏิบัติราชการ ตำแหน่ง การอบรม และการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค ยกเว้นความรู้ไม่แตกต่างกันตามสถานที่ปฏิบัติงานและหน้าที่หลัก ส่วนเจตคติไม่แตกต่างกันตามการศึกษาสถานที่ปฏิบัติงาน และหน้าที่หลัก สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้ไม่ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคโดยตรง มีความรู้และเจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ทั้งในด้านการค้นหารายป่วยวัณโรคการรักษาผู้ป่วยวัณโรค และการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ตามสถานที่ปฏิบัติงานตำแหน่งและหน้าที่หลัก ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่าการอบรมไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคโดยรวมยกเว้นด้านการค้นหารายป่วยวัณโรคเท่านั้น ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) อย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่มกิจกรรม การรักษาผู้ป่วยวัณโรค และการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคไม่แสดงความแตกต่าง ระหว่างผู้ที่ได้รับการอบรมและไม่ได้รับการอบรม แต่หากพิจารณากิจกรรมเฉพาะที่สำคัญ อาทิ การจัดให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) การอธิบาย DOTS แก่ผู้ป่วยและพี่เลี้ยงการเยี่ยมบ้านเมื่อผู้ป่วยวัณโรคขาดยากัน 2 วันการจัดทาแบบประเมินผลรายงานการนิเทศงานและการวิเคราะห์ผลเพื่อวางแผนงานควบคุมวัณโรค จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ DOTS ยังต้องการการเร่งรัดพัฒนา โดยสังเกตได้จากกิจกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด 3 อันดับ ซึ่งได้แก่ การนิเทศงานตามกำหนด (ร้อยละ 11.0) การจัดทำแบบประเมินผลรายงานรวดในรอบ 4 เดือน (ร้อยละ 11.5) การบรรจุของยา 1 ซองต่อ 1 วัน (ร้อยละ 19.1) เป็นต้น จากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า ควรจะเพิ่มพูนความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตามกลยุทธ์ DOTS-แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติของผู้ให้บริการทางสุขภาพในจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคโดยตรงซึ่งควรจัดให้มีการอบรมและนิเทศงานอย่างต่อเนื่อง
dc.description.abstractalternative The purpose of this descriptive study was to determine: knowledge, attitude, and practice on DOTS strategy of the National Tuberculosis Programme (NTP) among health providers in Chonburi province. The study samples were included all of 1805 health providers in Chonburi. The pre-tested self- administration questionnaires were used. The data were collected during 7 January to 10 March, 2000. There were 1508 respondents (response rate 83.5%), consisted of 209 direct TB control providers and 1299 general health providers. The results of the study showed that the health providers were female more than male (5.4:1). The mean age was 34.95 years. The majority of them got bachelor degree (61.6%). Most of them were working in provincial hospitals, community hospitals and health centers (38.1%, 32.7% and 24.8%, respectively). Average of period of work was 12.98 years. Most of them were nurses (64.2%), service providers (79.2%), not trained in DOTS strategy (88.6%), and general health providers (86.1%). Regarding knowledge and attitude of health providers, there were statistically significant differences (p <05) by sex, age groups, peonod of work, position, trained-DOTS, and direct TB control providers, except place of work and man duty for knowledge and education, place of work, and man duty for altitude. The knowledge and attitude of those who work as direct TB control providers and who were not, were statistically significant differences (p <05) in all groups of activities: case-finding, treatment, and follow up. In terms of practice, there were statistically significant differences (p <.05) by place of work, position and main duty. Further analysis found that there was no effect on overall DOTS practice from the training, except statistically significant difference (p <05) on the case-finding activities. Although there was no significant differences in the groups of treatment and follow-up activities, the depth analysis showed that there were statistically significant differences (p <.05) in some specific DOTS activities such as arranged DOTS treatment for TB patients, explained DOTS strategy. to TB patients and observers, home visit for 2-day non-compliance, penodic reporting Supervision and TB control assessment and planning for more efficient implementation of DOTS strategy, three least performed activities (<20%) showed the continuing educational needs of the TB control providers such as supervision (110%). periodic reporting (115%) and drug package (19.1%) that should develop rapidly. This study revealed that the health providers especially those TB control providers need to be strengthen their knowledge, attitude and practice on DOTS strategy according to the NTP through continuous training and supervision.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject วัณโรค
dc.subject วัณโรค -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ
dc.subject Tubocolosis -- prevention and controll
dc.title ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ DOTS-แผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ของผู้ให้บริการทางสุขภาพในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Knowledge, attitude, and practice on DOTs strategy of National Tuberculosis Programme among health providers in Chonburi Province
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ชุมชน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record