dc.contributor.advisor | วันชัย มีชาติ | |
dc.contributor.author | วิษณุ พลอยศรี, 2522- | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | |
dc.coverage.spatial | อุบลราชธานี | |
dc.date.accessioned | 2006-07-08T05:55:39Z | |
dc.date.available | 2006-07-08T05:55:39Z | |
dc.date.issued | 2547 | |
dc.identifier.isbn | 9741768435 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/683 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมของชุมชนแห่งหนึ่ง โดยได้ทำการศึกษาผ่านศูนย์การเรียนชุมชนพลาญข่อย บ้านแหลมทอง ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการและกระบวนการพัฒนาของชุมชนบ้านแหลมทอง 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเงื่อนไขภายในชุมชนบ้านแหลมทองที่มีอิทธิพลในการทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จมีความสามารถในการพึ่งตนเอง และมีลักษณะการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของชุมชน ทั้งนี้ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของการพัฒนา ทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน รวมถึงสื่อมวลชน ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านแหลมทองมีลักษณะการบริหารจัดการและกระบวนการพัฒนาชุมชนที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ชุมชนบ้านแหลมทองมีการทำเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เน้นการมีอยู่ มีกิน และเน้นการพึ่งตนเองได้ภายในชุมชน 2. ชุมชนบ้านแหลมทองเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงโดยมีศูนย์การเรียนชุมชนเป็นองค์กรที่สำคัญ 3. ชุมชนบ้านแหลมทองมุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกของคนภายในชุมชน โดยมีองค์กรชุมชนที่สำคัญ คือ ศูนย์เด็กและศูนย์จิตใจเป็นองค์กรที่สำคัญในการพัฒนา 4. ชุมชนบ้านแหลมทองมีการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรชุมชนเพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนภายในชุมชน ซึ่งได้แก่กลุ่มแปรรูปผลไม้พื้นเมือง กลุ่มแปรรูปดินลูกรังทำอิฐบล็อก และกลุ่มพลังงานธรรมชาติ การพัฒนาของชุมชนบ้านแหลมทองเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนภายในชุมชนเป็นสำคัญ และมีลักษณะการบูรณาการในทุกด้านส่วนกล่าวคือ มีการพัฒนามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านภายในชุมชนจะได้รับความรู้จากศูนย์การเรียนชุมชน และได้รับการขัดเกลาจิตใจ และปลูกฝังจิตสำนึก จากศูนย์เด็ก ศูนย์จิตใจและวัดแหลมทอง คนที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาด้านอื่น กล่าวคือการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านแหลมทองแก้ปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมด้วยการเน้นการสร้างงานภายในชุมชนโดยการรวมกลุ่มอาชีพกัน ในลักษณะการขายหุ้นให้กับสมาชิก เน้นการสร้างงานจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชน รวมถึงมีความสามารถในการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนในลักษณะยั่งยืนได้ สิ่งสำคัญประการสุดท้ายชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตของเกษตรกรภายในชุมชนเอาไว้ได้ พร้อมกับการมีงานทำภายในชุมชนได้โดยไม่ต้องละทิ้งการเป็นเกษตรกร แล้วเปลี่ยนอาชีพไปเป็นกรรมกรอย่างที่หลายชุมชนประสบปัญหา ทั้งนี้เนื่องจากงานใหม่ได้มาเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวบ้านภายในชุมชน ชุมชนหลายแห่งในสังคมไทยจึงล่มสลาย อนึ่งปัจจัยเงื่อนไขภายในชุมชนบ้านแหลมทองที่มีอิทธิพลในการทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จมีความสามารถในการพึ่งตนเองและมีลักษณะการพัฒนาที่ยั่งยืนได้แก่ 1. ชุมชนมีการสร้างปัจจัยสี่ภายในครัวเรือน เน้นการทำไร่นาสวนผสมสร้างความสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ 2. การมีผู้นำธรรมชาติและผู้นำทางการของชุมชนที่เข้มแข็ง 3. การมีศูนย์การเรียนชุมชนภายในชุมชน 4. การรวมกลุ่มสร้างองค์กรชุมชนเพื่อสร้างงานภายในชุมชน 5. การใช้ทรัพยกรที่มีอยู่ในภายชุมชนเป็นวัตถุดิบในการผลิต 6. การมีศูนย์จิตใจศาลาปฏิบัติธรรม วัด และศูนเด็กภายในชุมชน ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือและความร่วมมือจากกลุ่มญาติธรรม 7. ชุมชนมีความสามัคคีต่อกันในระดับสูง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชุมชนที่สำคัญได้แก่ 1. ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร 2. คนชราภายในชุมชน ถูกทอดทิ้ง 3. ปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตรในฤดูแล้ง 4. ชุมชนมีปริมาณไฟฟ้าไม่พอใช้ ข้อจำกัดดังกล่าวหาชุมชนสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ขะมีผลสำคัญต่อการพัฒนาในระยะยาว | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study a social phenomenon of a community. The study focuses on community Palankhoi Learning Center, Baan Lamthong, Tambol Nonko, Sirindhon District, Ubon Ratchathani Province. The purposes of the study are 1. to investigate community management and development of Baan Lamthong community. 2. to investigate the factors within the community which influence the community’s success in self-dependence and sustainable development. The study also investigates the factors which obstruct the community’s development, as the community is considered well-known for its development both within and outside the community and mass media. The study found that Baan Lamthong community has 4 significant characteristics of management and development, which are: 1. the community earns a living by diversified farming, of which the main purpose is to live self-dependently. 2. the community pays attention to practical learning, which the community learning center is the main educational organization. 3. the community pays attention to encouraging common sense of the people. The important organizations for development are Children Center and Mental Center. 4. Within the community, there are groups of community organization of which the purposes are to offer jobs to the people in the community. These groups are, for example, local fruit group, the group that makes bricks from laterite, and natural energy group. The development of Baan Lamthong community is mainly the result from cooperation of the people within the community. Moreover, the community has the characteristic of integration. In other words, it has man-center development. The people gain their knowledge from the community’s learning center, and they get mental treatment from Children Center, Mental Center, and Wat Lamthong. The people who have been trained will be the main leaders for other development, namely economic, social, and environmental development. Baan Lamthong community solves its economic and social problems by producing jobs within the community. The community mainly produces jobs that use only natural sources within the community, as well as using natural sources permanently. Finally, the community has potential to maintain itself as agricultural community. The people can earn their living without abandoning agricultural lives in order to be labors like many other communities. This is problematic to most communities, as people have to change their ways of life. Therefore, many communities in Thailand have collapsed. The factors within Baan Lamthong community which influence the community’s success in self-dependence and sustainable development are: 1. the households in the community produce their own 4 important factors for living. 2. the community has efficient charismatic leader and official leaders. 3. the community has a learning center. 4. there are organizations which help produce jobs within the community. 5. the community use natural sources within the community as raw materials. 6. the community has Mental Center, Buddhist Temples and Children Center which are supported from the public 7. the community is highly cooperative. The factors which obstruct the community’s development are: 1. children malnutrition problem. 2. old people are abandoned. 3. the lack of water for agriculture during the dry season. 4. there is not sufficient electricity. If the community is able to solve these problems, it will gain benefits for a long-term development. | en |
dc.format.extent | 4994016 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชุมชนบ้านแหลมทอง (อุบลราชธานี)--ภาวะสังคม | en |
dc.subject | การพึ่งตนเอง | en |
dc.subject | ชุมชนบ้านแหลมทอง--ความเป็นอยู่และประเพณี | en |
dc.subject | ชุมชนบ้านแหลมทอง--ภาวะเศรษฐกิจ | en |
dc.subject | การพัฒนาแบบยั่งยืน | en |
dc.title | การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีศูนย์การเรียนชุมชนพลาญข่อย ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี | en |
dc.title.alternative | Community management for sustainable development : a case study of Palankhol Learning Center, Tambon Nonko, Sirindhorn District, Ubon Ratchathani Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |