Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 กับบริบททางการเมืองก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ความเป็นมาในการจัดทำ ตลอดจนเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในสภาพความเป็นจริง ผลจากการศึกษาพบว่า การที่คณะรัฐประหารทำการรัฐประหารรัฐบาลของตน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 นั้นก็เพื่อต้องการล้มรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2492 และสถาบันการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวลง เพื่อนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 กลับมาแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2495 เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดรูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภาในรูปของสภาเดียว โดยมีบทเฉพาะกาลที่กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภทมีจำนวนเท่ากัน
คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง สมาชิกประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงตั้งชื่นมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 และมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกประเภทที่ 1 แต่โดยที่ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ไว้เป็นการเฉพาะในทางปฏิบัติจึงเป็นการมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตริ ทำให้นายกรัฐมนตรีสามารถเสนอรายชื่อบุคคลที่ตนเห็นชอบเข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกประเภทที่ 2 เพื่อใช้เป็นฐานอำนาจของรัฐบาลในสภาได้ และโดยที่สมาชิกภาพชองสมาชิกประเภทที่ 2 นี้ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีระยะเวลานานถึง 10 ปี และไม่อาจถูกยุบเลิกได้โดยผลชองการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารสามารถแต่งตั้งทหารประจำการให้เช้ามามีบทบาทในทางการเมืองในฐานะ สมาชิกประเภทที่ 2 เพื่อเป็นหลักประกันเสถียรภาพให้แก่รัฐบาลเป็นอย่างดี คณะรัฐประหารหวังที่จะเข้ามามีอำนาจในการปกครองบริหารประเทศอย่างเติมที่ โดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจอันชอบธรรมในการปกครอง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 ที่บังคับใช้อยู่ก่อนการทำรัฐประหารในครั้งนี้ไม่เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารที่เป็นทหารประจำการได้ใช้อิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองได้อย่างเติมที่ เพราะมีการกีดกันมิให้ข้าราชการประจำเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง ในช่วงระยะเวลาระหว่างการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐบาลจึงสามารถใช้ สมาชิกประเภทที่ 2 เป็นฐานอำนาจทำการควบคุมสภาได้อย่างเติมที่ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง “ คณะกรรมการนิติบัญญัติตามนโยบายของรัฐบาล” เพื่อรวบรวมเสียงสนับสนุนจากสมาชิกประเภทที่ 1 ด้วยการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนกับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ฝ่ายบริหารจึงสามารถใช้อิทธิพลครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ ในทางปฏิบัติรัฐสภาจึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหารได้มากนัก หากแต่กลายเป็นเครื่องมือและกลไกของกระบวนการในการตรากฎหมายเพียงเพื่อรับรองความชอบธรรมของฝ่ายบริหารเท่านั้น ในช่วงต่อมาได้เกิดปัญหาดวามขัดแย้งภายในคณะรัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงท่าการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้มีผลให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกไป ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คณะรัฐประหารได้สร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการรักษาอำนาจชองตนโดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวบริหารประเทศแทนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสร้างสถาบันทางการเมือง เช่น สภาผู้แทนราษฎรขึ้นมารองรับการใช้อำนาจของตน ตลอดจนใช้อำนาจทหารและอำนาจราชการขจัดศัตรูทางการเมืองชองตนออกไปจากเวทีการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคณะรัฐประหารมากว่าประชาชน