Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68439
Title: รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495
Other Titles: Constitution and political institutions : a study of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2475 as amended by the Constitution amendments B.E. 2495
Authors: อังกูร จิรกิตยางกูร
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: รัฐธรรมนูญ -- ไทย
สถาบันการเมือง -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2475-2501
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 กับบริบททางการเมืองก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ความเป็นมาในการจัดทำ ตลอดจนเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในสภาพความเป็นจริง ผลจากการศึกษาพบว่า การที่คณะรัฐประหารทำการรัฐประหารรัฐบาลของตน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 นั้นก็เพื่อต้องการล้มรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2492 และสถาบันการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวลง เพื่อนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 กลับมาแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2495 เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดรูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภาในรูปของสภาเดียว โดยมีบทเฉพาะกาลที่กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภทมีจำนวนเท่ากัน คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง สมาชิกประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงตั้งชื่นมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 และมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกประเภทที่ 1 แต่โดยที่ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ไว้เป็นการเฉพาะในทางปฏิบัติจึงเป็นการมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตริ ทำให้นายกรัฐมนตรีสามารถเสนอรายชื่อบุคคลที่ตนเห็นชอบเข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกประเภทที่ 2 เพื่อใช้เป็นฐานอำนาจของรัฐบาลในสภาได้ และโดยที่สมาชิกภาพชองสมาชิกประเภทที่ 2 นี้ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีระยะเวลานานถึง 10 ปี และไม่อาจถูกยุบเลิกได้โดยผลชองการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารสามารถแต่งตั้งทหารประจำการให้เช้ามามีบทบาทในทางการเมืองในฐานะ สมาชิกประเภทที่ 2 เพื่อเป็นหลักประกันเสถียรภาพให้แก่รัฐบาลเป็นอย่างดี คณะรัฐประหารหวังที่จะเข้ามามีอำนาจในการปกครองบริหารประเทศอย่างเติมที่ โดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจอันชอบธรรมในการปกครอง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 ที่บังคับใช้อยู่ก่อนการทำรัฐประหารในครั้งนี้ไม่เปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารที่เป็นทหารประจำการได้ใช้อิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองได้อย่างเติมที่ เพราะมีการกีดกันมิให้ข้าราชการประจำเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง ในช่วงระยะเวลาระหว่างการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐบาลจึงสามารถใช้ สมาชิกประเภทที่ 2 เป็นฐานอำนาจทำการควบคุมสภาได้อย่างเติมที่ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง “ คณะกรรมการนิติบัญญัติตามนโยบายของรัฐบาล” เพื่อรวบรวมเสียงสนับสนุนจากสมาชิกประเภทที่ 1 ด้วยการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนกับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ฝ่ายบริหารจึงสามารถใช้อิทธิพลครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ ในทางปฏิบัติรัฐสภาจึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหารได้มากนัก หากแต่กลายเป็นเครื่องมือและกลไกของกระบวนการในการตรากฎหมายเพียงเพื่อรับรองความชอบธรรมของฝ่ายบริหารเท่านั้น ในช่วงต่อมาได้เกิดปัญหาดวามขัดแย้งภายในคณะรัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงท่าการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้มีผลให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกไป ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า คณะรัฐประหารได้สร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการรักษาอำนาจชองตนโดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวบริหารประเทศแทนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสร้างสถาบันทางการเมือง เช่น สภาผู้แทนราษฎรขึ้นมารองรับการใช้อำนาจของตน ตลอดจนใช้อำนาจทหารและอำนาจราชการขจัดศัตรูทางการเมืองชองตนออกไปจากเวทีการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคณะรัฐประหารมากว่าประชาชน
Other Abstract: This master thesis aims to analysis the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2475 as amended by the Constitution amendments B.E.2495 with the political context prior to the announcements, history of this constitution, drafter’s intention, and its enforcement. The conclusion of studying found that the Coup d’état in B.E.2494 was for elimination of constitution B.E.2492 and political institutions power and for the purpose of the constitution B.E.2475 amendment and reannoucement. According to this Constitution, it formed the parliament administration system into a uni-cameral, which had a temporary provision designated the House of Representative to consist of two equally members. The first category member came from direct election and the second category member came from His Majesty the King appointing. Both category members had and equal right and duty. However, the Constitution did not stipulate anyone to be a counter-signature to appoint the second category members. Therefore, practically, the prime minister could propose a list of recognized persons to be entitled to the second category members a purpose of being the government’s power base in the parliament. Due to this constitution, a term of the second category member was 10 years and could not be eliminated by dissolution. The Coup makers, therefore, selected to appoint the military to join the second category member in order to secure the government stability. The Coup makers also wish to handle a fully administrative power by using this constitution as a tool since the Constitution B.E. 2492, which was enforced prior to the revolution did not provide an opportunity for the Coup makers who were the military to accept any position in politic. During the constitution announcement, the government took advantage from the second category member’s existing to control the parliament. Besides, there was a “Legislative Committee”, which was set up for accumulate the supporting vote from the first category members by sharing benefit to government supporters. For this reason, executive can fully take over the legislative power. Practically, the parliament rarely be able to proceed its mechanism in examing and balancing the executive power. Moreover, it became a tool and mechanism in the legislation procedures for supporting the executive action. Consequently, there was a conflict between the Coup makers and, later, General Sarit Thanarat did Coup d’etat in September 16, 2500. The following Coup d’etat was arisen on October 20, 2501. As a result, this constitution was, then, revoked. The result derived from studying shows that the Coup makers constitution was aimed to be a political tool in order to gam and maintain the power. By using the Constitution, the Coup makers exercised his Majesty the king’s power through it, created political institutions, and used a military and official power to get rid of their politic opponents. It can be concluded that such constitution brings create advantage to the Coup makers more than Thai civilians.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68439
ISBN: 9743347321
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aungkul_ji_front_p.pdf959.32 kBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_ch1_p.pdf744.82 kBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_ch2_p.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_ch3_p.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_ch4_p.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_ch5_p.pdf893.89 kBAdobe PDFView/Open
Aungkul_ji_back_p.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.