Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาถึงความสำคัญของการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยเอกชน สภาพ ปัญหาของกฎหมายที่มาจำกัดสิทธิการใช้ที่ดินของเอกชนและแนวทางแก้ไข หลักกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระยะเวลาช้านานแล้ว ในปัจจุบันประเทศที่มี การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นกฎหมายของบ้านเมืองได้ให้ความเคารพในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินของ เอกชนอย่างยิ่งและกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ดังนั้นหากรัฐจะดำเนินการ ใด ๆ อันเป็นการลิดรอนสิทธิในกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนแล้วจะต้องประกอบด้วยเหตุผลที่สำคัญคือ การ กระทำเพี่อประโยชน์ของสาธารณะชน (public interest) หรือเพี่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐโดยจะต้องออก กฎหมายให้ถูกต้องและชอบธรรม รวมทั้งการกำหนดชดเชยค่าสินไหมทดแทนด้วยวิธีการเวนคืนก็ดี การรอน สิทธิก็ดี หรือการดำเนินการอันกระทบต่อสิทธิในที่ดินของเอกชนก็ดี แต่ตามที่ได้ศึกษาจากบทบัญญัติกฎหมาย ต่าง ๆ หลายฉบับซึ่งโดยผลของกฎหมายดังกล่าวเหล่านี้มีบทบัญญัติซึ่งได้กำหนดการจำกัด การลิดรอนสิทธิ ตลอดจน การเวนคืนที่ดินให้เป็นของรัฐยังมีความไม่เหมาะสมและชอบธรรม ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ในกรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชนซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของปัจเจกชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายเหล่านั้น ตลอดจนองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ กฎหมายมีศักดิ์ทางกฎหมายที่ต่างกัน มีลักษณะไม่เป็นเอกภาพ ดังตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎหมายได้มอบอำนาจให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะวางระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารของเอกชนโดยกฎเกณฑ์บางส่วนที่ประกาศใช้นั้นจะมีความแตกต่างขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ มีลักษณะหลากหลายและในบางครั้งบางกรณีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ออกมานี้ มีผลกระทบต่อการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนอย่างไม่ชอบธรรม เช่น การกำหนดระยะถอยร่นในกรณีที่ใช้กับตึกแถวที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ72 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพี่อรอการเวนคืนสำหรับการขยายถนนทำให้เอกชนต้องทำพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นที่ว่างโดยไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในประเด็นนี้ถือได้ว่าเป็นเหตุผลที่ไม่เหมาะสม เอกชนผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องสูญเสียการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินดังกล่าว เพี่อให้เกิดความยุติธรรมแก่เอกชนผู้ถูกจำกัดสิทธิ ดังกล่าว ถือเป็นการสมควรที่ต้องเวนคืนระยะถอยร่นริมทางสาธารณะให้เป็นของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530