Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68445
Title: ปัญหากฎหมายในการจำกัดสิทธิในที่ดินของเอกชน
Other Titles: Legal problems concerning the limitation of private land ownership
Authors: สรายุทธิ์ จันทวรรณกูร
Advisors: ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Prasit.Ko@Chula.ac.th
Subjects: ที่ดิน
กรรมสิทธิ์ที่ดิน
กฎหมายที่ดิน
การถือครองที่ดิน
Land use
Land titles
Land use -- Law and regislation
Land tenure
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาถึงความสำคัญของการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยเอกชน สภาพ ปัญหาของกฎหมายที่มาจำกัดสิทธิการใช้ที่ดินของเอกชนและแนวทางแก้ไข หลักกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระยะเวลาช้านานแล้ว ในปัจจุบันประเทศที่มี การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นกฎหมายของบ้านเมืองได้ให้ความเคารพในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินของ เอกชนอย่างยิ่งและกฎหมายได้ให้ความคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ดังนั้นหากรัฐจะดำเนินการ ใด ๆ อันเป็นการลิดรอนสิทธิในกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนแล้วจะต้องประกอบด้วยเหตุผลที่สำคัญคือ การ กระทำเพี่อประโยชน์ของสาธารณะชน (public interest) หรือเพี่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐโดยจะต้องออก กฎหมายให้ถูกต้องและชอบธรรม รวมทั้งการกำหนดชดเชยค่าสินไหมทดแทนด้วยวิธีการเวนคืนก็ดี การรอน สิทธิก็ดี หรือการดำเนินการอันกระทบต่อสิทธิในที่ดินของเอกชนก็ดี แต่ตามที่ได้ศึกษาจากบทบัญญัติกฎหมาย ต่าง ๆ หลายฉบับซึ่งโดยผลของกฎหมายดังกล่าวเหล่านี้มีบทบัญญัติซึ่งได้กำหนดการจำกัด การลิดรอนสิทธิ ตลอดจน การเวนคืนที่ดินให้เป็นของรัฐยังมีความไม่เหมาะสมและชอบธรรม ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ในกรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชนซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของปัจเจกชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายเหล่านั้น ตลอดจนองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ กฎหมายมีศักดิ์ทางกฎหมายที่ต่างกัน มีลักษณะไม่เป็นเอกภาพ ดังตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎหมายได้มอบอำนาจให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะวางระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารของเอกชนโดยกฎเกณฑ์บางส่วนที่ประกาศใช้นั้นจะมีความแตกต่างขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ มีลักษณะหลากหลายและในบางครั้งบางกรณีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ออกมานี้ มีผลกระทบต่อการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนอย่างไม่ชอบธรรม เช่น การกำหนดระยะถอยร่นในกรณีที่ใช้กับตึกแถวที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ72 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพี่อรอการเวนคืนสำหรับการขยายถนนทำให้เอกชนต้องทำพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นที่ว่างโดยไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในประเด็นนี้ถือได้ว่าเป็นเหตุผลที่ไม่เหมาะสม เอกชนผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องสูญเสียการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินดังกล่าว เพี่อให้เกิดความยุติธรรมแก่เอกชนผู้ถูกจำกัดสิทธิ ดังกล่าว ถือเป็นการสมควรที่ต้องเวนคืนระยะถอยร่นริมทางสาธารณะให้เป็นของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
Other Abstract: This thesis this is a detailed study on the importance of private ownership of land, the nature and problems of statutory provisions that restrict the individual’s exercise of rights on land usage and their solutions. The principle regarding private ownership of land has been developed over a very long period of time. At present, in democratic countries, the rights on private land ownership are highly respected by the state and well protected by law. Any derogation of right on private land ownership by a State should substantially be based on public interest or state security. The State is required to duly pass laws that fairly govern compensations, expropriation, derogation or any action affecting the private ownership of land. However, studies on several laws have found that provisions in these laws regarding restriction or derogation of such right or appropriation by states are still inappropriate and unfair when judged by the principle regarding private ownership of land. These provisions violate the legal rights of and individual. Therefore, detailed study of these statutory provisions as well as of organizations, agencies, committees, and officials in respect of such provisions is necessary. Non uniformity has als0 been found in several related laws. For example, the Building Control Act B.E. 2522 (1979) authorizes local officers to issue regulations regarding building construction by private people. Parts of these announced regulations are different from those enforced by local administration organizations throughout the countries. These regulations are varied and in certain case unfairly affect the right of private ownership of land; example, keeping front set back of flat buildings, situated along side of the roads, in Bangkok Regulations in Building Control B.E. 2522 Section 72. That provision requires the said front setback to be appropriated if road expansion occurs; and private land owners can’t use that space. For this problem, it’s not fair for private land owners. A solution, the State should appropriate front set back of flat buildings, situated along side of the roads.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68445
ISBN: 9743342443
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarayut_ja_front_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch0_p.pdf692.74 kBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch1_p.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch2_p.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch3_p.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch4_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_ch5_p.pdf900.46 kBAdobe PDFView/Open
Sarayut_ja_back_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.