dc.contributor.advisor |
ทศพร วิมลเก็จ |
|
dc.contributor.advisor |
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
อัมพร ระดมสุทธิศาล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-10-09T06:58:59Z |
|
dc.date.available |
2020-10-09T06:58:59Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68486 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยการสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมีนาคม 2543 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุก และปัจจัยด้านประชากรเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยด้านชีวภาพ และความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี จำนวน 835 คน ยืนยันภาวะโลหิตจางโดยผลทางห้องปฏิบัติการ คือ ค่าฮีมาโตคริต โดยใช้เกณฑ์ที่ค่าฮีมาโตคริต น้อยกว่า ร้อยละ 33 จากการศึกษาพบความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 32.9 ส่วนใหญ่เป็นภาวะโลหิตจาง ระดับที่ 1 (Hct ร้อยละ 27-32) อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 ปี เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ การศึกษาระดับประถมศึกษาใกล้เคียงกับระดับมัธยมศึกษา อาชีพ แม่บ้านรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท/เดียว อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล อายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 (14-26 สัปดาห์) เป็นการตั้งครรภ์ลำดับที่ 1-2 ไม่เคยมีประวัติการแท้งบุตร หรือทารกปริกำเนิดระยะห่างระหว่างการ ตั้งครรภ์ 1-3 ปี คะแนนความรู้ระดับปานกลาง (12-17 คะแนน) จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม คือ อายุ p = 2017) รายได้ครอบครัว (p = 0.047) และปัจจัยด้านชีวภาพ คือระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ (p = 0.006) สำหรับปัจจัยด้านความรู้เรื่องโภชนาการและภาวะ โลหิตจาง พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (p>0.05) จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ใช้กลวิธีแก้ปัญหาโดยเน้นการให้คำปรึกษา เรื่อง การวางแผนครอบครัว การแต่งงานและมีบุตรเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม การมารับบริการฝากครรภ์ในระยะแรกที่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ ให้โภชนศึกษา ให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ทั้งก่อนคลอด ระหว่างคลอด และ หลังคลอด การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว และโภชนศึกษาในโรงเรียน ศึกษาสาเหตุของ ภาวะโลหิตจาง และศึกษาเปรียบเทียบความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this cross-sectional descriptive study were to survey prevalence and related factors of anemia in pregnancy. The pregnant women who attended the antenatal clinic in Saraburi Hospital were interviewed in the clinic between November 1999 to March 2000. The objectives of the study were the prevalence, demographic, economic, social and biological characteristics and nutritional knowledge related to anemia in pregnancy. Sample in this study were the 835 first time attending antenatal women at Saraburi Hospital, the anemic status were confirmed by the hematocrit less than 33. The prevalence was 32.9 percent. (95% Cl =29.7%- 36.1%) Most of them were stage 1 anemia (Hct = 27-32%) aged equal or less than 25 1 Thai race 1 Buddhism 1 Primary school education as much as secondary school education 1 housewife 1 monthly income were equal or less than 10,000 Bath 1 the habitat were outside the municipal 1 second trimester (14-26 weeks) with the first or second pregnancy 1 no history of abortion 1 pregnancy interval 1-3 years 1 the knowledge assessed were medium (12-17 point). The factors related to anemia with statistical significance were demographic economic and social: age (p = 0.017) family income (p = 0.047) and biological factors: pregnancy interval (p = 0.006) but the nutritional and anemia knowledge were not related to anemia in pregnancy (p > 0.05). In conclusion it should be recommended to the Saraburi Province Health office to enhance the family planning, Sex education to school children, nutritional education 1 Antenatal Clinic attending as soon as possible when pregnant, and anemic pregnant women care throughout the pregnancy period. The following study should aim to the cause of anemia in pregnancy and the prevalence in all the Health care levels. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
เลือดจางในสตรีมีครรภ์ |
|
dc.subject |
ฮีโมโกลบิน |
|
dc.subject |
ฮีมาโตคริต |
|
dc.title |
ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี |
|
dc.title.alternative |
Prevalence and factors related to anemia in pregnancy, Suraburi Hospital |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เวชศาสตร์ชุมชน |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|