dc.contributor.advisor |
สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ |
|
dc.contributor.author |
อัฒรัตต์ เล้าวัฒนากูล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-10-12T01:38:08Z |
|
dc.date.available |
2020-10-12T01:38:08Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743345825 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68516 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภาระรับผิดชอบ และปัจจัยด้านการทำงานกับความคิดเห็นต่อสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการพลเรือน และเพื่อศึกษาถึงการรักษาพยาบาลและสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการการรักษาพยาบาล รวมทั้งข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับสวัสดิการการรักษาพยาบาล ใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2540 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญในประเทศไทย จำนวน 8,035 คน(ไม่ถ่วงน้ำหนัก) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาที่ได้พบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ตอบว่าเข้ารับการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน คลินิก หรือโพลีคลินิก เหตุผลที่ไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ อันดับแรกคือเสียเวลาในการรอนานเกินไป อันดับสองคือ ไม่สะดวกในการไปในเวลาราชการ และอันดับที่สามคือไม่ได้รับการบริการที่ดี และข้าราชการส่วนใหญ่ตอบว่าสวัสดิการการรักษาพยาบาลยังไม่เหมาะสม ต้องปรับปรุง เหตุผลที่เสนอให้ปรับปรุงอันดับแรกคือ ปรับอัตราการเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนไข้นอกของสถานพยาบาลเอกชนให้สูงขึ้น รองลงมาคือ กำหนดวงเงิน สำหรับค่าตรวจสุขภาพของข้าราชการโดยไม่จำกัดสถานพยาบาล ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภาระรับผิดชอบ และปัจจัยด้านการทำงานกับความคิดเห็นต่อสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการพลเรือนสามัญ พบว่า ตัวแปรสถานภาพสมรส การมีผู้อยู่ในอุปการะ ค่าใช้จ่ายโดยปกติของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน การมีหนี้สิน และสภาพการอยู่อาศัย เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ทั้งไว้ ความสัมพันธ์ที่ได้ส่วนใหญ่ สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นตัวแปรสถานภาพสมรส และสถานภาพการทำงานของคู่สมรส และเมื่อนำเพศของข้าราชการมาเป็นตัวแปรคุม ผลการศึกษาที่ได้พบว่า ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง ยกเว้นตัวแปรสถานภาพสมรส สถานภาพการทำงานของคู่สมรส สภาพการอยู่อาศัย และอายุราชการ สรุปได้ว่ามีเพียงตัวแปรการมีผู้อยู่ในอุปการะ และการมีหนี้สินเท่านี้นที่เป็นไปตามสมมติฐาน สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริงเมื่อใช้เพศเป็นตัวแปรควบคุม และมีเพียงตัวแปรสถานภาพการทำงานของคู่สมรส เท่านั้นที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐานสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และเป็นความสัมพันธ์ลวง เมื่อใช้เพศเป็นตัวแปรคุม |
|
dc.description.abstractalternative |
The main purpose of the study was to analyze the relationship between personal factors, responsible factors and job related factors and the opinions of government officials about government health welfare. The study was also to study the treatment, the rights related to health welfare. Data used in this study were obtained from the interview of 8,035 government officials from the Survey of Government Welfare and the state of Family Living of Government Officials conducted by the National Statistic Office in 1997. It was found that most of the government officials had received treatments from private hospitals, clinics and polyclinics. They gave reasons for not using government hospital services as followed: a long waiting time, inconvenience and poor services. The government officials also wanted the government health welfare to be improved. Reasons given were as follows (1) to adjust the out- patient service rate of private hospitals, (2) to specify the budget for health examination and no limitation in choosing hospitals/clinics. The results of the study of the relationships between personal factors, responsible factors and job related factors and the opinions of government officials about health welfare showed that several factors such as marital status, the burden and living condition had impact on the opinions as hypothesized. It was also found that most of the relationships were real correlation after using sex of respondents as control variable except marital status, working status of couple, living condition and duration work. In conclusion, only the burden and the debt of the government officials were the most significant variables in effecting opinions about health welfare. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
สวัสดิการข้าราชการ |
|
dc.subject |
ข้าราชการพลเรือน |
|
dc.title |
ความคิดเห็นของข้าราชการพลเรือนสามัญต่อสวัสดิการการรักษาพยาบาล |
|
dc.title.alternative |
Opinions of government officials about government health welfare |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ประชากรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|