DSpace Repository

การบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

Show simple item record

dc.contributor.advisor มุรธา วัฒนะชีวะกุล
dc.contributor.advisor วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
dc.contributor.author อุรสา รัตนสมบัติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-12T09:01:47Z
dc.date.available 2020-10-12T09:01:47Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743344284
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68548
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทางกฎหมาย หลักเกณฑ์ และกระบวนการในการบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติล้มสะลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ในส่วนเรื่องการบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้บางประการไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากให้แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ กระบวนการการบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะส่งผลให้การดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ดำเนินไปโดยสะดวกและอาจทำให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยจึงได้แสนอแนะปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการจัดการที่เหมาะสมและเพื่อให้การบอกปัดสัญญาที่มีการะในการฟื้นฟูก็จการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการวิจัยเรื่องนี้จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขข้อขัดข้องต่าง ๆ ดังนี้ 1. กำหนดคำจำกัดความของสัญญาที่มีภาระอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้บริหารแผนในการบอกปัดสัญญาที่มีภาวะในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 2. กำหนดหลักในการบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ให้เป็นการบอกปัดสัญญาที่มีภาระโดยปริยายเมื่อพ้นเงื่อนเวลาที่กฎหมายให้อำนาจ 3. กำหนดข้อกำหนดสำหรับการยอมรับสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อคุ้มครองคู่สัญญาอีกฝ่าย 4. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ชัดเจนในการโอนสัญญาที่มีภาระเพื่อประโยชน์ต่อบริษัทลูกหนี้และคุ้มครองคู่สัญญาอีกฝ่าย 5. กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองคู่สัญญาอีกฝ่ายในสัญญาที่คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่มีอำนาจต่อรอง
dc.description.abstractalternative The purposes of this research is to study the legal concept, the principle and the process of the rejection of executory contract in the debtor’ s reorganization law. According to the study, it was found that Bankruptcy Act (NO.5) B.E. 2542 as regards the rejection of executory contract in the debtor’s reorganization is inappropriate in certain circumstances, in fact, it is not helpful to the debtor’s reorganization. Consequently, there is a need of modifying its principle and its process. The author has suggested, modified and added any legislation concerned for appropriate arrangement which will lead to an efficiency of the rejection of executory contract in the debtor’ s reorganization. Thus, this research has suggested solution as follow; 1. Determination of the definition of an unspecific executory contract, which is practical and flexible towards plan administrator in the area of rejection of the executory contract in the debtor’s reorganization. 2. Specify principle of the rejection of executory contract in the debtor’ s reorganization as being the rejection of executory contract implicitly when the time specified has been expired. 3. Specify conditions of the assumption of executory contract in the debtor’ s reorganization in order to safeguard other parties. 4. Specify obvious principle and condition of transferring the executory contract for the benefit of debtor’ s company and to safeguard other parties. 5. Specify the principle in order to safeguard other parties in a bargaining contract.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ล้มละลาย
dc.subject การฟื้นฟูบริษัท
dc.subject สัญญาที่มีภาระ
dc.title การบอกปัดสัญญาที่มีภาระในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
dc.title.alternative Rejection of executory contract in the debtor's reorganization
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record