Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (analytic study) แบบสังเกต โดยเปรียบเทียบสภาวะฟันสึกกร่อนในฟันถาวรหน้าบนของนักกีฬาว่ายน้ำแข่ง 86 คน กับนักเรียนที่ไม่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำแข่ง 101 คน ศึกษาในสระว่ายน้ำ 2 แห่งที่มีค่าความเป็นกรดด่างมาตรฐาน (pH 7.2-8.4)ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มอายู คือ 8-10ปี และ 11-15 ปี วัดฟันสึกกร่อนจากการตรวจทางคลินิกภาพถ่าย และแบบจำลองฟันปูนร่วมกับมีการวัดค่าความขรุขระของผิวฟันด้วยเครื่องวัดค่าความขรุขระผิว ข้อมูลที่ได้จากการวัดฟันสึกกร่อนดังกล่าว นำมาวิเคราะห์โดยสถิติ Unpairedt-test ผลการศึกษาพบว่าการตรวจทางคลินิก ภาพถ่าย และแบบจำลองฟันปูน ให้ผลไปในทางเดียวกัน โดยนักกีฬาว่ายน้ำแข็งมีค่าเฉลี่ยฟันสึกกร่อนมากกว่านักเรียนที่ไม่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำแข่งอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทั้งกลุ่มอายุ 8-10 ปีและ 11-15 ปี มีเพียงการวัดฟันสึกกร่อนโดยดูจากภาพถ่ายในฟันซี่ 21 ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 การวัดค่าความขรุขระผิวพบว่านักกีฬาว่ายน้ำแข่งมีค่าความขรุขระผิวน้อยกว่านักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เฉพาะกลุ่มอายุ 11-15 ปีเท่านั้น และเพื่อดูแนวโน้มของฟันสึกกร่อนกับอายุซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 8-9 ปี 10-11 ปีและ 12-15 ปี ทดสอบทางสถิติด้วย Anova พบว่ากลุ่มนักเรียน และกลุ่มนักกีฬาว่ายน้ำแข็งต่างมีฟันสึกกร่อนเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น แต่กลุ่มนักกีฬาว่ายน้ำแข่งมีฟันสึกกร่อนมากกว่าการทุ่มนักเรียน ตามความเห็นของผู้วิจัยการดูฟันสึกกร่อนจากแบบจำลองพื้นปูน แม้จะดี ไม่มีอคติ แต่วิธีเตรียมแบบจาลองพื้นยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการดูลักษณะทางคลินิก นับเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็วประหยัด ที่ทันตแพทย์ทุกคนสามารถตรวจได้ดังนั้นเมื่อทันตแพทย์พบผู้ป่วยที่มีฟันสึกกร่อน ควรตระหนักว่าการว่ายน้ำอาจเป็นสาเหตุหนึ่งได้ การซักประวัติและคราบหินน้ำลายที่เกิดในนักกีฬาว่ายน้ำอาจช่วยเสริมในการวินิจฉัยได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น