DSpace Repository

ความตายของตัวละครเอกในวรรณคดีไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประคอง นิมมานเหมินท์
dc.contributor.author วาสนา ศรีรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-20T06:26:30Z
dc.date.available 2020-10-20T06:26:30Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743338306
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68641
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีไทยที่ปรากฏการตายของตัวละครเอกจำนวน ๙ เรื่อง ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขูลูนางอั้ว โคลงอมรา บทละครเรื่องเงาะป่า ตำนานฟ้าแดดสงยาง ผาแดงนางไอ่ พระรถเมรี ลิลิตพระลอ และอลองเจ้าสามลอ โดยมีวัตอุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของวรรณคดีดังกล่าว และเพี่อศึกษาสาเหตุ ความหมายและความสำคัญของการตายของตัวละครเอกที่ปรากฏในวรรณคดีเหล่านั้น ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า วรรณคดีไทยที่ปรากฎการตายของตัวละครเอกส่วนใหญ่มีที่มาจากเรื่องเล่าในท้องถิ่นซึ่งเล่าขานเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งมีลักษณะเป็นนิทานประจำถิ่น โดยมีการนำเอาชื่อของตัวละครหรือเหตุการณ์นเรื่องไปอธิบายถึงที่มาของชื่อสถานที่หรือพืชพรรณในท้องถิ่น นอกจากนี้เนื้อเรื่องของวรรณคดีเหล่านี้ยังมีลักษณะเป็นนิทานชีวิต ซึ่งทำให้เชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงมาก่อน โดยปรากฏชื่อตัวละครและสถานที่ในเรื่องอย่างชัดเจน และยังมีความสมจริงในแง่ที่ว่า เมื่อตัวละครเอกต้องประสบชะตากรรมจนถึงแก่ชีวิตก็ไม่มีผู้ใดสามารถช่วยชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อประกอบเข้ากับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความผิดหวังที่เกิดจากความรักซึ่งนำไปสู่ความตายของตัวละครเอกในภายหลัง ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นที่ประทับใจและถูกผู้คนน่ามาเล่าขานสืบทอดต่อมา ลักษณะการตายของตัวละครเอกมี ๓ ลักษณะ ได้แก่ การตายเพราะจิตใจระทมทุกข์แสนสาหัส การฆ่าตัวตาย และการตายเพราะถูกผู้อื่นฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า ส่วนสาเหตุการตายของตัวละครเอกที่สำคัญมี ๒ประการ ได้แก่ สาเหตุสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการขาดความยั้งคิดของตัวละครเอกที่หลงใหลในความงามของตัวละครเอกอีกฝ่ายอย่างขาดสติ และลักลอบได้เสียกัน และสาเหตุที่เกิดจากสังคม คือการที่พ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการชีวิตของลูก ทำให้ลูกเกิดความคับข้องใจจากความไม่สมหวังในความรักและนำไปสู่ความตายในเวลาต่อมา ความเชื่อเกี่ยวกับความตายตายในวรรณคดีไทยที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับความตายในสังคมไทย ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกรรม วิญญาณ ชาติภพ การเวียนว่ายตายเกิด นรกสวรรค์ โชคชะตาและลางสังหรณ์ ความตายที่ปรากฏในวรรณคดีที่ศึกษาไม่ได้มีความหมายเพียงการสิ้นสุดชีวิต แต่ยังหมายถึงการสิ้นสุดของกรรมที่ได้กระทำมา โดยมีเหตุและปัจจัยที่กำหนดมาแล้วอย่างชัดเจน และหมายถึงการผ่านเข้าไปสู่สภาพที่ดีขึ้นและมีความสมหวังภายหลังการตายอีกด้วย ในด้านการสร้างอารมณ์สะเทือนใจจากการตายของตัวละครเอกพบว่าผู้แต่งสร้างอารมณ์สะเทือนใจด้วยการเน้นการคร่ำครวญของตัวละครเอกที่กำลังจะตายและการคร่ำครวญของตัวละครอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการบรรยายฉากการตายของตัวละครเอกให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
dc.description.abstractalternative This thesis is an analytical study of the death of the protagonists in nine texts of Thai literature, namely Lilit Pralaw, Khun Chang Khun Phan, Ngoe Pa, Klong Amara, Along Chao Samlaw, Khulu Nang Uae, Phadang Nang Ai, Tamnan Fa Dad Song Yang, and Prarot Men with the aim to study the characteristics of this group of literature as well as the cause, the meaning and the importance of the death of the protagonists. The result of the study shows that the majority of the literature with the death of the protagonists is based on local folktales. The names of the characters or the events in the texts are often used as the names of the places or plants or to explain the origin of these names. The stories are mostly novella. In all of the texts, when the protagonists die, nobody could help them to become alive again. Thus, these stories make a deep impression on the readers and become widely read and narrated. They are three types of the death of the protagonists in this group of literatures. The first is that the protagonists die of their own sufferings and sorrows. The second is that they just commit suicide, and the last is that they are killed. The two main causes of the death of the protagonists are their blind and passionate love leading to their relationship before marnage and the influence of parents who arrange and force their children into marriage without love. The belief concerning death in these texts reflects Thai belief in Karma, soul and rebirth, heaven and hell, fate and portent. The meaning of the death is not only to die but also to end the Karma done from previous lives. The death of the protagonists has predetermined causes and factors. The meaning of the death is also the changing to a better life or fulfillment of happiness. The technique used in term of developing the touching emotion from the death of the protagonists is the lamentation of the protagonists themselves and of other characters. The scene of death is usually vividly described in details.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.249
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณกรรม en_US
dc.subject ความตายในวรรณกรรม en_US
dc.subject วรรณคดีไทย en_US
dc.subject Characters and characteristics in literature
dc.subject Death in literature
dc.subject Thai literature
dc.title ความตายของตัวละครเอกในวรรณคดีไทย en_US
dc.title.alternative The death of the protagonists in Thai literature en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.249


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record