DSpace Repository

สัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
dc.contributor.author วีระพงษ์ ไพศาลธนวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-20T09:05:59Z
dc.date.available 2020-10-20T09:05:59Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743342478
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68649
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติไว้กระจัดกระจายในเอกเทศสัญญาบรรพ 3 และเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขหลักกฎหมายเกี่ยวกับหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อศึกษากฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว ปรากฏว่ายังไม่พบหลักกฎหมายที่บัญญัติเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้น หลักกฎหมายไทยดังกล่าวอาจสันนิษฐานได้ว่า บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีหลักฐานการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า มีการทำสัญญากันจริงหรือไม่ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากข้อกำหนดเรื่องแบบแห่งนิติกรรมตามมาตรา 152 โดยหลักกฎหมายบัญญัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไข จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทบทวนสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะ สัญญาประกันภัย เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กำหนดเพียงว่า สัญญาจะมีผลผูกพันต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด ทำให้หลักกฎหมายนี้ ได้ขยายแหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับหลักฐานการพิสูจน์ให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่ อันเป็นการผ่อนคลายความเคร่งครัดของหลักกฎหมายดังกล่าว และลักษณะบทบัญญัติของสัญญาซื้อขายตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ขยายหลักฐานการพิสูจน์ โดยกำหนดวิธีการวางมัดจำชำระหนี้บางส่วน ซึ่งให้คำนึงและน่าวิธีการดำเนินธุรกิจมาบัญญัติไว้เป็นหลักฐานด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ แล้วจึงขอสรุปและเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนี้ 1. สัญญาบางประเภทควรกำหนดแต่เพียงว่า ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการสมัยใหม่ เช่น สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ 2. ขยายหลักฐานการฟ้องร้อง โดยนำเอาวิธีปฏิบัติธุรกิจของแต่ละสัญญามากำหนดเป็นหลักฐานการพิสูจน์ ด้วย 3. ควรแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับหลักฐานการฟ้องร้องในสัญญาประกันภัย โดยกำหนดให้มีบทยกเว้นหลักมาตรา 867 วรรคแรก 4. พิจารณาแก้ไขจำนวนเงินที่บัญญัติไว้ในสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 456 วรรคสาม และสัญญากู้ยืมเงิน ตามมาตรา 653
dc.description.abstractalternative This research is aimed at exploring problems caused by the provision concerning contracts with written evidence, prescribed in Specific Contract Book Three under the Civil and Commercial Code. The other purpose is to give guidelines to amend the provision. (Unlike Thai law, no such provision is found in foreign ones). Therefore, with regard to the provision, evidence is needed to verify that a contract is done. The provision has been used since 1928 without any amendment, and it is not in line with the legal act stipulation in Article 152. To make the law responsive to the global society and economy as well as to create equity among interested persons, the provision needs to be revised, such as insurance contracts. According to the Arbitration Act 1987, contracts lead to obligation only when there is written evidence, either with or without signatures of the party liable. Based on this act, evidence verification methods can be extended to correspond to modem technology, making the provision more flexible. For example, in the provision concerning sale contracts in paragraphs two and three of Article 456, more kinds of evidence are accepted such as depositing methods, part obligation performance, and business operation procedures. To solve the problem that contracts are enforceable by action only when there is written evidence signed by the party liable, four solutions are proposed. 1. To be responsive to the business operation and changing technology, only some kinds of contracts, such as contracts of sale of movable property need written evidence. 2. More kinds of evidence should be allowed, for example, business operation procedures related to a specific contract. 3. The General Insurance Act 1992 and Life Insurance Act 1992 should be amended in terms of evidence needed in suing. For instance, there should be an exception part for paragraph one in Article 867 of Civil and Commercial Code. 4. The figures stipulated in paragraph three of Article 456 concerning sale contracts and those in Article 653 concerning loan agreements should be rectified.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา en_US
dc.subject พยานหลักฐาน en_US
dc.subject Civil and commercial law
dc.subject Evidence
dc.title สัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ en_US
dc.title.alternative Contracts with written evidence en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Prasit.Ko@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record