Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาภายใต้ กรอบทางกฏหมายขององค์การการค้าโลก อันได้แก่ ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับ การค้า (''ความตกลงทริปส์") โดยศึกษาถึงกรณีผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ที่ ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรโดยอาคัยการใช้ข้อยืดหยุ่นตามความตกลงทริปส์อันได้แก่ มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing) และมาตรการนำเข้าช้อน (Parallel Import) ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่อาจทำให้เกิด การเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดสํใด้อย่างเพียงพอ ผลการวิจัยพบว่า การที่ประเทศภาคีสมาชิกขององค์การการค้าโลกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและ ประเทศด้อยพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ได้อย่างเพียงพอ เกิดจากประเทศเหล่านั้นประสบปัญหา จาก 1.การบังคับใช้บทบัญญัติที่เป็นข้อยืดหยุ่นต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาตามความตกลงทริปส์ 2.ปัญหาการให้ความคุ้มครองแก่การใช้ใหม่ 3. ปัญหาจากข้อเรียกร้องต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) และ4 ปัญหาจากการดำเนินคดีทางศาลของบริษัทยาต่อการใช้มาตรการบังคับ ใช้สิทธิในประเทศกำลังพัฒนา จึงทำให้จำเป็นต้องใช้มาตรการและแนวทางอื่นๆ อาทิ มาตรการจำกัดการใช้ ใหม่, การให้ความคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย, การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งรวมถึงแนวความคิดให้ยา เป็นสมบัติสาธารณะเพี่อลดการผูกขาด และแนวความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการ ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร อีกทั้งแนวทางการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนเพือช่วยให้เกิด การเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ได้มากขึ้น