dc.contributor.advisor | ภัสสร ลิมานนท์ | |
dc.contributor.author | วีรวรรณ เสถียรกาล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-10-27T03:20:51Z | |
dc.date.available | 2020-10-27T03:20:51Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.isbn | 9743344632 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68730 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมอนามัยของสตรีไทยบนพื้นที่สูงที่มีบุตรอายุไม่เกิน 1 ปี ครอบคลุม 3 ประเด็นด้วยกันคือ การฝากครรภ์ การทำคลอด และการดูแลหลังคลอด รวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านอุปสรรคต่อการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ของสตรีไทยบนพื้นที่สูง กลุ่มตัวอย่างคือสตรีจำนวน 604 คนที่มีบุตรอายุ 1ปี จากโครงการสำรวจสภาวะสุขภาพประชากรชาวไทยบนพื้นที่สูง ปี พ.ศ. 2540 ของกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า สัดส่วนของสตรีไทยบนพื้นที่สูงที่มีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มีร้อยละ 46.9 สตรีที่ทำคลอดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผดุงครรภ์โบราณที่อบรมแล้วมีร้อยละ 61.7 และมีผู้ที่มีการดูแล หลังคลอดครบตามเกณฑ์ เพียงร้อยละ 28.4 ซึ่งพฤติกรรมทั้งหมดนี้ นับว่าต่ำกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาการสาธารณสุข ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมอนามัยแม่ของสตรีไทยบนพื้นที่สูงกับปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านอุปสรรคต่อการปฏิบัติมีดังนี้ 1. ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของพฤติกรรมการฝากครรภ์ของสตรีไทยบนพื้นที่สูงได้แก่ ชาติพันธุ์ การศึกษา อาชีพ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล และระยะทางจากครัวเรือนถึงสถานบริการสาธารณสุข และพบว่าสตรีที่อายุน้อยกว่ามีแนวโน้มว่ามีสัดส่วนของการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์สูงกว่าสตรีที่มีอายุมากกว่า 2. ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของพฤติกรรมการทำคลอดของสตรีไทยบนพื้นที่สูงได้แก่ อายุ ชาติพันธุ์ การศึกษา อาชีพ และสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล สำหรับตัวแปรจำนวนสมาชิกในครัวเรือนและระยะทางจากครัวเรือนถึงสถานบริการสาธารณสุขมีทิศทางความสัมพันธ์ไม่เป็นในลักษณะเส้นตรง 3. ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของพฤติกรรมการดูแลหลังคลอดของสตรีไทยบนพื้นที่สูงได้แก่ อาชีพ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล และระยะทางจากครัวเรือนถึงสถานบริการสาธารณสุข และพบว่าสตรีชาติพันธุ์ที่พูดภาษามอญ - เขมร (เผ่า ลัวะ ถิ่น และขมุ) มีแนวโน้มว่ามีสัดส่วนของการดูแลหลังคลอดครบตามเกณฑ์สูงกว่าสตรีชาติพันธุกลุ่มอื่น ๆ และสตรีที่ได้เรียนหนังสือมีแนวโน้มว่ามีสัดส่วนของการดูแลหลังคลอดครบตามเกณฑ์สูงกว่าสตรีที่ไม่ได้เรียนหนังสือ นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรความเพียงพอของรายได้ครัวเรือนมีผลเพียงเล็กน้อยต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ของสตรีไทยบนพื้นที่สูง | |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of this study was to analyse the relationship between demographic, socioeconomic and barrier factors, and the maternal health behavior of hilltribe women who had children aged under 1 year. Maternal health behavior defined in this study covered antenatal care (ANC), birth attendance and postnatal care (PNC). Data used in this study was taken from the “Hilltribes Health Survey 1997”, conducted by the Ministry of Public Health. The 604 women were eligible for the analysis. Research results indicated that among the total sampled women only 46.9 percent had at least 4 ANC visits, about 61.7 percent of the deliveries were attended by health personnel or trained traditional birth attendance, and only 28.4 percent of them received at least 3 postnatal care visits. These percentages were much lower than the targets set by the national maternal health plan. After analysing relationship between demographic, socio-economic and barrier factors and the maternal health behavior of hilltribe women, it was found that. 1. Determinants of differentials in antenatal care were ethnics, education, occupation, health insurance and distance to health center. There was a tendency that younger women visited ANC (4 times) in a higher proportion than older women. 2. Determinants of differentials in birth attendance were age, ethnics, education, occupation, health insurance, and distance to health center, while household size showed a curvilinear relationship with birth attendance. 3. Determinants of differentials in postnatal care were occupation, health insurance and distance to health center. However, women who spoke a MON-KHEMR language (Lua, Htin and Khamu) had a tendency to visit PNC (3 times) in a higher proportion than other ethnics woman, and educated women had a tendency to visit PNC (3 times) in a higher proportion than uneducated women. In addition, family income had little effect on maternal health behavior of hilitribe women. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.168 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อนามัยแม่และเด็ก | en_US |
dc.subject | ชาวเขา -- สุขภาพและอนามัย | en_US |
dc.subject | Maternal health services | |
dc.subject | Hill tribes -- Health and hygiene | |
dc.title | พฤติกรรมอนามัยแม่ของสตรีไทยบนพื้นที่สูง | en_US |
dc.title.alternative | Maternal health behavior of hilltribe women in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Bhassorn.L@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.168 |