Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความร่วมรู้สึกของนักศึกษาด้วยการฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามแนวคิดการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนและหลัง การทดลอง และใช้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพในการขยายรายละเอียดและเป็นข้อมูลเชิงลึกของผลที่ได้จากการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินสถานการณ์ที่ใช้ในการวัดระดับความร่วมรู้สึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการสัมภาษณ์คือ แนวคำถามการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาจากบทสัมภาษณ์ และสรุปเป็นประเด็น ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยานักศึกษามีคะแนนความร่วมรู้สึกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ภายหลังการเข้าร่วมของนักศึกษาที่เข้าโปรแกรมการฝึกทักษะ เบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยามีคะแนนความร่วมรู้สึกสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการทดลอง มีการแสดงออกในด้านต่อไปนี้คือ 3.1 ความเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก 3.2 การเปลี่ยนแปลงตนเอง มีการฟังด้วยการใส่ใจมากขึ้น รู้จักตอบรับจากการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผลการปรับปรุงโปรแกรมที่ปรับจากการทดลอง