dc.contributor.advisor |
กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์ |
|
dc.contributor.author |
ปีระกา มณีวรรณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T07:23:16Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T07:23:16Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9745314439 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69344 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความร่วมรู้สึกของนักศึกษาด้วยการฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามแนวคิดการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนและหลัง การทดลอง และใช้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพในการขยายรายละเอียดและเป็นข้อมูลเชิงลึกของผลที่ได้จากการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินสถานการณ์ที่ใช้ในการวัดระดับความร่วมรู้สึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการสัมภาษณ์คือ แนวคำถามการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาจากบทสัมภาษณ์ และสรุปเป็นประเด็น ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยานักศึกษามีคะแนนความร่วมรู้สึกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ภายหลังการเข้าร่วมของนักศึกษาที่เข้าโปรแกรมการฝึกทักษะ เบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยามีคะแนนความร่วมรู้สึกสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการทดลอง มีการแสดงออกในด้านต่อไปนี้คือ 3.1 ความเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก 3.2 การเปลี่ยนแปลงตนเอง มีการฟังด้วยการใส่ใจมากขึ้น รู้จักตอบรับจากการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผลการปรับปรุงโปรแกรมที่ปรับจากการทดลอง |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this study were to increase the level of empathy of the students through training with counseling training program based on person-centered approach. The study was conducted using the semi-experimental pretest-posttest nonrandomized design with the additional data from interview. Participants were 40 undergraduate students. Data was collected by the Empathy Scales. The t-test was utilized for data analysis. Data obtained from semi-structured interview with 7 respondents from the experimental group was analyzed and grouped into 2 themes. The major findings were as follows: 1) The posttest score on empathy of the experimental group were higher than its pretest scores at .01 level of significance. 2) The posttest score on empathy of the experimental group were higher than the posttest scores of control group at .01 level of significance. 3) An analysis of an interview indicated that the respondents showed empathic understanding; attending behaviors; and responding behaviors. 4) The result of developed program was presented. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การร่วมรู้สึก |
en_US |
dc.subject |
การให้คำปรึกษา |
en_US |
dc.subject |
การแนะแนว |
en_US |
dc.subject |
Empathy |
en_US |
dc.subject |
Counseling |
en_US |
dc.title |
การเพิ่มการร่วมรู้สึกด้วยโปรแกรมการฝึกทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
en_US |
dc.title.alternative |
Increasing of empathy by basic skills in counseling training program |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
kannikar.n@chula.ac.th |
|