DSpace Repository

การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตัวแบบทางเหมืองข้อมูลสำหรับพยากรณ์ระดับฮีโมโกลบินของผู้บริจาคโลหิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทวฤทธิ์ สะระชนะ
dc.contributor.author สาธิต เทศสมบูรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T09:51:13Z
dc.date.available 2020-11-11T09:51:13Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69388
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract ปริมาณโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่เพียงพอในธนาคารเลือดนั้นมีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ดังนั้นธนาคารเลือดทุกแห่งต้องส่งเสริมให้ผู้บริจาคโลหิตมีสุขภาพดีและมีคุณสมบัติเหมาะสมในการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอจากข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยพบผู้ถูกปฏิเสธการบริจาคโลหิตประมาณร้อยละ 15-20 จากจำนวนผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิตทั้งหมด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากค่าฮีโมโกลบิน (hemoglobin; Hb) ไม่ผ่านเกณฑ์ นำไปสู่ความผิดหวังความไม่พอใจเพราะผู้บริจาคโลหิตต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ไม่ได้บริจาคโลหิตและส่งผลกระทบต่อการจัดหาโลหิตโดยตรง หากสามารถพยากรณ์ผลตรวจ Hb ได้ล่วงหน้าจะช่วยลดผลกระทบปัญหา เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริจาคโลหิต ธนาคารเลือดและผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเทคนิคการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ในการพยากรณ์จำแนกกลุ่มผลตรวจ Hb ของผู้บริจาคโลหิต โดยเก็บข้อมูล 44 ตัวแปรของผู้บริจาคโลหิตจำนวน 2,180 รายจากภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งและสถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 31 พ.ค. 2562 นำมากลั่นกรองข้อมูล คัดเลือกตัวแปร พัฒนาตัวแบบทางเหมืองข้อมูลได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน การจำแนกแบบเบส์อย่างง่ายและโครงข่ายประสาทเทียม จากนั้นเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกกลุ่มของตัวแบบพยากรณ์ พบว่าต้นไม้ตัดสินใจเป็นตัวแบบการจำแนกกลุ่มที่เหมาะสมที่สุดโดยให้ค่าความถูกต้อง ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าการพยากรณ์ผลบวก ค่าการพยากรณ์ผลลบสูงที่สุดและค่า AUC เท่ากับร้อยละ 92.20, 82.98, 94.74, 81.25, 95.29 และ 0.943 ตามลำดับ ซึ่งต้นไม้ตัดสินใจที่ได้จากศึกษานี้อาจนำไปพัฒนาต่อเป็นระบบประเมินออนไลน์ก่อนเดินทางมาบริจาคโลหิตได้
dc.description.abstractalternative Adequate blood and blood components stored in blood banks are critical for patients. It is therefore necessary for blood banks to encourage healthy blood donors to donate their blood regularly. Thailand’s National Blood Centre has to reject as many as 15-20% of potential donors, mostly due to low hemoglobin (Hb) levels. In many cases, such rejections lead to unsatisfactory feelings, causing inadequate of blood. Therefore, it would be helpful for all, if the Hb levels of blood donors can be predicted prior to traveling to the donation sites. This study aims to develop and compare the classification efficiency of machine learning techniques in predicting Hb levels of blood donors. We obtained the information of blood donors (n = 2,180 cases) who visited 13 Regional Blood Centers from 1st October 2018 to 31st May 2018 related to as many as 44 aspects. Following data cleaning and predictive models analyses of blood donor data were performed to predict the Hb levels which indicated acceptance/rejection of blood donation. We found that decision tree show respective accuracy, sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value and AUC were 92.20%, 82.98%, 94.74%, 81.25%, 95.29%, and 0.943, respectively. This study provides the information about the efficiency of decision tree analyses as predictive tools, which warrant further research in the future and could lead to further development of an online assessment application.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1158
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การเรียนรู้ของเครื่อง
dc.subject เหมืองข้อมูล
dc.subject การบริจาคโลหิต
dc.subject Machine learning
dc.subject Data mining
dc.subject Directed blood donations
dc.subject.classification Computer Science
dc.title การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตัวแบบทางเหมืองข้อมูลสำหรับพยากรณ์ระดับฮีโมโกลบินของผู้บริจาคโลหิต
dc.title.alternative Application of machine learning techniques to develop data mining models for predicting hemoglobin levels of blood donors
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword ต้นแบบพยากรณ์
dc.subject.keyword การเรียนรู้ของเครื่อง
dc.subject.keyword ฮีโมโกลบิน
dc.subject.keyword ธนาคารเลือด
dc.subject.keyword เหมืองข้อมูล
dc.subject.keyword สารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
dc.subject.keyword predictive model
dc.subject.keyword machine learning
dc.subject.keyword hemoglobin
dc.subject.keyword blood bank
dc.subject.keyword data mining
dc.subject.keyword health informatics
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1158


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record