DSpace Repository

วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครปฐม

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author พุทธิมน ศิงฆมานันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-07-08T07:02:54Z
dc.date.available 2006-07-08T07:02:54Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741763255
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/693
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ก็เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีต่อการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนศึกษาถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน 134 คน และประชาชนในเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน 350 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Chi-square และค่า Gamma ตลอดจนการวิเคราะห์ทางสถิติแบบถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 45 ปี ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ประถมศึกษา มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในตำบลที่ตนเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเฉลี่ย 39 ปี มีความเข้าใจดีในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนในองค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะของการทำงานแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนเป็นประจำ ผู้นำส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในระดับที่ใกล้เคียงกันแต่ค่อนไปทางด้านต่ำ และมีการบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแบบประชาธิปไตยในระดับสูง แต่การศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่พบว่ามีทัศนคติต่อการบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบลว่าการบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเป็นประชาธิปไตยในระดับปานกลาง ผลจากการศึกษา พบว่า ตัวแปรทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล คือ ลักษณะการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะการทำงานแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน สำหรับตัวแปรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในตำบลที่ผู้นำท้องถิ่นเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน อายุหรือแม้แต่ระดับการศึกษาก็ไม่พบว่าตัวแปรเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์กับการแปรผันของวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลมีอิทธิพลต่อการบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้ยังพบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลมีส่วนสัมพันธ์กับการแปรผันในทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารภายในองค์การบริหารส่วนตำบลไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ en
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study factors affecting political culture of subdistrict administrative organization leaders, political culture of subdistrict administrative organization leaders affecting administration in subdistrict administrative organization, and the opinion of the people on the administration of subdistrict administrative organizations. 134 subdistrict administrative organization leaders and 350 people in Nakornpathom province were the sample of this study. Questionnaires were used as tool for data collection and statistical analysis adopted are percentage, mean, median, standard deviation, chi-square, gamma and multiple regression analysis. The results of this study indicated that majority of subdistrict administrative organization leaders is male with mean age of 45 years, school attainment is primary level, and mean duration of stay in community is 39 years. Most of them have good understanding of their work and support people’s participation in activities of the communities. In studying political culture in terms of democratic level, the findings indicate that while leaders demonstrate relatively low democratic level, subdistrict administrative organizations have high democratic level in administration; but the people felt that the administration have medium level democracy. The findings revealed that work pattern plays significant role on the variation of political culture of subdistrict administrative organization leaders. The other factors namely duration of staying in the community, the understanding on his/her own career, participation in community activities, age as well as educational level do not show any significant impact on the variation of political culture. However, the political culture itself has significant effect on the administration. Moreover, political culture of subdistrict administration organization leaders varies in the same direction with the variation of the opinion of the people who live in the same area. en
dc.format.extent 2689086 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject วัฒนธรรมทางการเมือง en
dc.subject องค์การบริหารส่วนตำบล en
dc.title วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครปฐม en
dc.title.alternative The political culture of subdistrict administrative organization leaders in Nakhon Pathom Province en
dc.type Thesis en
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Amara.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record