Abstract:
บทนำ นิวโทรฟิล เจลาติเนส แอสโซซิเอทเต็ด ไลโปคาลิน (Ngal) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในระยะเริ่มต้นเมื่อเกิดภาวะไตวายฉับพลัน (Acute Kidney Injury, AKI) อย่างไรก็ตามการศึกษากลไกเชิงลึกของการเกิดภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิสมีความยากเนื่องจากไม่มีแอทติบอดีต่อ Ngal ในหนูแฮมสเตอร์และหนูตะเภารายงานการศึกษาล่าสุดแสดงว่าหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 อาจมีประสิทธิภาพเป็นสัตว์ทดลองแบบจำลองของภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิส
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพของ Ngal เมื่อเกิดภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6
วิธีการศึกษา การทำให้เกิด AKI หนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 เพศเมียจะได้รับการฉีด Cyclophosphamide (Cy) ขนาด 300 mg/kg, i.p. เพียงครั้งเดียวก่อนเป็นเวลา 2 วันแล้วจึงฉีดเชื้อปริมาณ 108 leptospires ต่อหนู 1 ตัวเมื่อครบ 3, 7, 14 และ 28 วัน ตรวจหาระดับ SCr, sNgal และ uNgal และบริเวณที่มีการแสดงออกของ Ngal ในเนื้อเยื่อไต
ผลการศึกษา หนูกลุ่ม Cy+Lepto ตรวจพบ AKI จากผลการตรวจระดับ serum และ urine Ngal มีค่าสูงกว่าหนูกลุ่ม Cy control เมื่อครบ 3, 7, 14 และ 28 วัน หลังจากฉีดเชื้อ แต่ระดับ SCrเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในวันที่ 28 และพบว่ามีพยาธิสภาพเกิดขึ้น คือ มี interstitial nephritis แต่หนูกลุ่ม Cy control มีท่อไตปกติ ไม่มี cell infiltration สอดคล้องไปกับมีการแสดงออกของ Ngal ที่บริเวณท่อไตส่วนนอกในช่วงเวลาเดียวกัน
สรุปผลการศึกษา Ngal สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในการตรวจสอบการเกิด AKI จากโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 ที่ได้รับการกดภูมิคุ้มกันด้วย cyclophosphamide