dc.contributor.advisor |
ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
สรินยา คำปัญญา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T10:06:37Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T10:06:37Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69417 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
|
dc.description.abstract |
บทนำ นิวโทรฟิล เจลาติเนส แอสโซซิเอทเต็ด ไลโปคาลิน (Ngal) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในระยะเริ่มต้นเมื่อเกิดภาวะไตวายฉับพลัน (Acute Kidney Injury, AKI) อย่างไรก็ตามการศึกษากลไกเชิงลึกของการเกิดภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิสมีความยากเนื่องจากไม่มีแอทติบอดีต่อ Ngal ในหนูแฮมสเตอร์และหนูตะเภารายงานการศึกษาล่าสุดแสดงว่าหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 อาจมีประสิทธิภาพเป็นสัตว์ทดลองแบบจำลองของภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิส
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพของ Ngal เมื่อเกิดภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6
วิธีการศึกษา การทำให้เกิด AKI หนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 เพศเมียจะได้รับการฉีด Cyclophosphamide (Cy) ขนาด 300 mg/kg, i.p. เพียงครั้งเดียวก่อนเป็นเวลา 2 วันแล้วจึงฉีดเชื้อปริมาณ 108 leptospires ต่อหนู 1 ตัวเมื่อครบ 3, 7, 14 และ 28 วัน ตรวจหาระดับ SCr, sNgal และ uNgal และบริเวณที่มีการแสดงออกของ Ngal ในเนื้อเยื่อไต
ผลการศึกษา หนูกลุ่ม Cy+Lepto ตรวจพบ AKI จากผลการตรวจระดับ serum และ urine Ngal มีค่าสูงกว่าหนูกลุ่ม Cy control เมื่อครบ 3, 7, 14 และ 28 วัน หลังจากฉีดเชื้อ แต่ระดับ SCrเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในวันที่ 28 และพบว่ามีพยาธิสภาพเกิดขึ้น คือ มี interstitial nephritis แต่หนูกลุ่ม Cy control มีท่อไตปกติ ไม่มี cell infiltration สอดคล้องไปกับมีการแสดงออกของ Ngal ที่บริเวณท่อไตส่วนนอกในช่วงเวลาเดียวกัน
สรุปผลการศึกษา Ngal สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในการตรวจสอบการเกิด AKI จากโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 ที่ได้รับการกดภูมิคุ้มกันด้วย cyclophosphamide
|
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Neutrophil gelatinase associated lipocalin (Ngal) is an early biomarker of Acute Kidney Injury (AKI). However, to study the mechanisms of leptospirosis associated AKI in depth is difficult due to the lack of Ngal antibody to hamsters and guinea pigs. Recent report showed C57BL/6 mice could be a potential model of leptospirosis associated AKI.
Objective: To study of the Ngal as a biomarker for detection of AKI in leptospiral infection in C57BL/6 mice.
Materials and methods: To induce AKI, female C57BL/6 mice were injected with 300 mg/kg Cy for 2 days before injected with 108 leptospires/mice and were sacrificed on day 3, 7, 14 and 28 after injection. The SCr, sNal and uNgal levels were measured, and expression of the Ngal in kidney tissue was investigated.
Results: The Cy+Lepto group had serum and urine Ngal levels higher than those in the Cy control group on days 3, 7, 14 and 28 after injection. However, the serum creatinine increased 1.5 fold on days 28.The histopathology in the Cy+Lepto group clearly showed interstitial inflammation. But, the Cy control group showed normal interstitium. Consistent with the expression of the Ngal in the cortex and medulla at the same time.
Conclusion: In this study, we have demonstrated that the Ngal as a biomarker for detect leptospirosis associated AKI in C57BL/6 immunocompromised mice. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การศึกษาตัวชี้วัดชีวภาพ นิวโทรฟิล เจลาติเนส แอสโซซิเอทเต็ด ไลโปคาลิน ในการตรวจสอบภาวะไตวายฉับพลันจากโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูเมาส์สายพันธุ์ C57BL/6 |
|
dc.title.alternative |
Study of neutrophil gelatinase associated lipocalin (ngal)as a biomarker for detection of leptospirosis associated acute kidney injury in c57bl/6 mice |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
NGAL |
|
dc.subject.keyword |
ACUTE KIDNEY INJURY |
|
dc.subject.keyword |
LEPTOSPIROSIS |
|