dc.contributor.advisor |
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี |
|
dc.contributor.author |
วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T10:06:43Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T10:06:43Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69429 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ดำเนินการวิจัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) จำนวน 2 แห่ง จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย โดยสุ่มให้ได้รับการกระตุ้นพฤติกรรม (กลุ่มทดลอง) และได้รับการดูแลแบบปกติ (กลุ่มควบคุม) รพ.สต.แต่ละแห่งสุ่มเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์แห่งละ 41 คน เข้าร่วมการวิจัย การกระตุ้นพฤติกรรมประกอบด้วย (1) การลงตารางกิจกรรม (2) การติดตามกิจกรรม (3) การปรับกิจกรรมรวมถึงการติดตามจำนวนก้าวเดินในแต่ละวัน วิเคราะห์ผลลัพธ์เดือนที่ 0, 3, 6 และ 9 ด้วยสถิติ Generalized Estimating Equations (GEE), และ Generalized Mixed Model
ผลการศึกษาตลอดระยะเวลา 9 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า [-2.42 คะแนน (95%CI:
-3.84, -1.00)] (ขนาดผลการทดลอง Cohen’s d = 1.12, 1.00, และ 0.74 ตามลำดับ), ค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้า และด้านความเครียด [-1.47 และ -1.87 คะแนน (95%CI: -2.43, -0.50 และ -2.94, -0.79 ตามลำดับ)] ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนด้านวิตกกังวลลดลงเพียงแค่ 6 เดือน [-0.87 คะแนน (95%CI: -1.52, -0.23)] จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยต่อวันของกลุ่มทดลอง (2,595 ก้าว) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (1,816 ก้าว) ไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (HRV) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SDNN) [8.00 ms (95%CI: 1.51, 14.49)] และค่าช่วงคลื่นความถี่สูง (HF) [0.59 ms2 (95%CI: 0.16, 1.03)] เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนค่าช่วงคลื่นความถี่ต่ำ (LF) เพิ่มขึ้น [0.36 ms2 (95% CI:
-0.04, 0.77)] และค่าอัตราส่วนช่วงความถี่ต่ำ/ความถี่สูง (LF/HF) ลดลง [-0.02 ms2 (95% CI: -0.08, 0.04)] ไม่แตกต่างกัน การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การศึกษาในอนาคตควรนำกิจกรรมไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายอื่น และศึกษาการประเมินผลในระยะยาวต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
This cluster randomized controlled trial (RCT) aimed to examine the effectiveness of Behavioral Activation (BA) on depression, stress, anxiety, heart rate variability, and daily physical activity as measured by step count among the elderlies. We conducted research in two Health Promoting Hospitals (HPHs) in Samut Songkhram province of Thailand, which were invited and randomized into either intervention (behavioral activation) or control (usual care) group. Each HPH then randomly selected forty-one eligible elderlies into the study. The BA comprised of three components: (1) activity schedule, (2) activity monitoring and (3) activity modification as well as daily step counting. Generalized Estimating Equations (GEE) and Generalized Mixed Model were used to assess the effectiveness of the BA at 0, 3, 6 and 9 months. Over nine months, adjusted mean change of depression (Thai Geriatric Depression Scale; TGDS) score [-2.42 (95%CI: -3.84, -1.00)] (Cohen’s d = 1.12, 1.00, and 0.74 respectively), mental health status (Depression Anxiety Stress Scales; DASS) in depression and stress scores [-1.47 and -1.87 (95% CI: -2.43, -0.50 and -2.94, -0.79 respectively)] were significantly improved in intervention compared to control group, whereas that of anxiety score was significantly improved only at 6 months [-0.87 (95% CI: -1.52, -0.23)]. The number of daily steps in the intervention group (2,595 steps) increased compared to the control group (1,816 steps) but not significantly different. The adjusted mean change of Heart Rate Variability (HRV): Standard Deviation of the Normal to Normal interval (SDNN) [8.00 ms (95% CI: 1.51, 14.49)] and High Frequency (HF) band power [0.59 ms2 (95% CI: 0.16, 1.03)] were significantly increased in the intervention compared to control group, whereas those of Low Frequency (LF) band power increase [0.36 ms2 (95% CI: -0.04, 0.77)] and LF/HF ratio decreased [-0.02 ms2 (95% CI: -0.08, 0.04)] but not significantly different. In conclusion, this study showed that the BA was effective in improving depression, daily physical activity, and HRV in the elderlies. Future research should emphasize on long-term effectiveness in more diverse target groups. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.721 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Psychology |
|
dc.title |
ประสิทธิผลของการกระตุ้นพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ |
|
dc.title.alternative |
Effectiveness of behavioral activation on depression among the elderly |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
การกระตุ้นพฤติกรรม |
|
dc.subject.keyword |
ภาวะซึมเศร้า |
|
dc.subject.keyword |
ผู้สูงอายุ |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.721 |
|