DSpace Repository

ภาวะการติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่าและสุขภาวะทางจิต ในผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัศมน กัลยาศิริ
dc.contributor.author ชญามนต์ รัตนวิจารณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T10:06:59Z
dc.date.available 2020-11-11T10:06:59Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69453
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาจจะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจเมื่อเกิดอาการเสพติดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาของภาวะการติดการออกกำลังกายมากนักในสังคมไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเสพติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่า และสุขภาวะทางจิต การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ใช้บริการของศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์ ผู้วิจัยทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 386 คน โดยใช้แบบประเมินภาวะการติดการออกกำลังกาย (Exercise Addiction Inventory; EAI) แบบสอบถามประเมินข้อเข่า (Knee and Osteoarthritis Outcome Score; KOOS) และแบบสอบถามสุขภาวะทางจิต (The Questionnaire for Eudaimonic Well-Being; QEWB) จากการวิเคราะห์ผลกระทบของภาวะการติดการออกกำลังกายต่อสุขภาวะทางจิตและอาการของภาวะข้อเข่า นอกจากนี้ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปร เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกาย สุขภาวะทางจิต และภาวะอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม จากการศึกษา พบภาวะการติดการออกกำลังกายร้อยละ 9.1 ภาวะข้อเข่าในช่วงคะแนน 76-100 ตามด้านดังนี้ ด้านอาการ ร้อยละ 75.9 ด้านอาการปวด 90.4 ด้านกิจวัตรประจำวัน 94.6 ด้านการเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมอื่น ๆ 75.9 และด้านคุณภาพชีวิต 69.2 และส่วนใหญ่สุขภาวะทางจิตดีในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.4 ของกลุ่มตัวอย่าง และจากการวิเคราะห์ทำนายโอกาสเกิดภาวะการติดการออกกำลังกายโดยใช้สถิติ Logistic regression พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการเกิดภาวะการติดการออกกำลังกาย คือ เพศชาย โดยมีแนวโน้มการเกิดภาวะการติดการออกกำลังกายมากกว่าเพศหญิง เป็น 2.65 เท่า (p<0.05)   การศึกษาเชิงปริมาณนี้ พบว่า การเสพติดการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับความถี่และการใช้เวลาในการออกกำลังกาย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่รักษาสุขภาพ มักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวานและดื่มน้ำเปล่าแทน รวมถึงค่า BMI ได้รับผลกระทบจากภาวะการติดการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาในอนาคต ควรศึกษาถึงความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการติดการออกกำลังกาย และอธิบายความสัมพันธ์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะในกลุ่มของประชากรไทย
dc.description.abstractalternative Background: Exercise is beneficial for health although it may become physically and mentally harmful when addicted. However, there is a lack of knowledge of the associations among these variables. Objectives: To explore associations between exercise addiction and psychological well-being among sport complex clients. Methods: We recruited 386 participants and assessed the Exercise Addiction Inventory (EAI), Knee and Osteoarthritis Outcome Score (KOOS), and the Questionnaire for Eudaimonic Well-Being (QEWB). We analyzed the effects of exercise addiction on their mental health and primary symptoms, moreover, using multivariable linear regression analyses in order to investigate associations between exercise addiction and both Eudaimonic well-being and symptoms of Osteoarthritis. Results: This study found that there was 9.1% shown addicted symptoms, KOOS score most in 76 -100 as followed percentages; symptoms 75.9, pain 90.4, daily life's activities 94.6, moving and other activities 75.9 and quality of life 69.2, and 75.4 of participants had medium Eudaimonic well-being. The logistic regression analysis showed that being male will increase the opportunity of Exercise addiction 2.65 of female (p<0.05)  Conclusions: This quantitative study found that exercise addiction depends on the frequency and spent hours working out, moreover, subjects who care for health avoid drinking sweet and drinking water instead. Also, BMI are affected by exercise addiction. However, future study designs should study the understanding of Exercise addiction and descript the relationship about Exercise addiction and anxiety, depression, or in specific of mental health problems of Thais.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1403
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title ภาวะการติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่าและสุขภาวะทางจิต ในผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์
dc.title.alternative Exercise addiction, knee outcome and psychological well-being of the clients at Chulalongkorn Sport Center
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขภาพจิต
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1403


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record