Abstract:
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma และจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้อง ระหว่างการใช้ Linked color imaging (LCI), Endocuff-assisted colonoscopy (EAC), การใช้ LCI ร่วมกับ EAC (LCI+EAC) กับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีปกติ (WLI) ในประชากรที่มาคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ด้วย LCI, EAC, LCI+EAC กับ WLI โดยเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma และจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องในแต่ละวิธีกับ WLI
ผลการศึกษา: อาสาสมัครเข้าร่วมวิจัย 1000 ราย ถูกคัดออกไป 15 ราย สุดท้ายเหลือผู้ที่อยู่ในงานวิจัย 985 ราย อายุเฉลี่ยของอาสาสมัครคือ 61.3 ปี และร้อยละ 65 เป็นเพศหญิงอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma จากการส่องกล้องด้วยการใช้ LCI+EAC, LCI, EAC และ WLI คือร้อยละ 58.0, 53.4, 52.9 และ 47.8 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma จากการส่องกล้องด้วยการใช้ LCI+EAC สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) จำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องแต่ละกลุ่มคือ 1.27, 1.20, 1.17 และ 0.90 ตามลำดับ โดยจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องในกลุ่มที่ใช้ LCI+EAC และกลุ่มที่ใช้ LCI สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.01 และ 0.04 ตามลำดับ)
สรุปผล: การใช้ LCI หรือ EAC มีแนวโน้มเพิ่มอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma แต่การใช้ LCI ร่วมกับ EAC มีอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma ที่สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ