dc.contributor.advisor |
สติมัย อนิวรรณน์ |
|
dc.contributor.author |
กุลวดี แหวนดวงเด่น |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T10:07:10Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T10:07:10Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69467 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma และจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้อง ระหว่างการใช้ Linked color imaging (LCI), Endocuff-assisted colonoscopy (EAC), การใช้ LCI ร่วมกับ EAC (LCI+EAC) กับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีปกติ (WLI) ในประชากรที่มาคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ด้วย LCI, EAC, LCI+EAC กับ WLI โดยเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma และจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องในแต่ละวิธีกับ WLI
ผลการศึกษา: อาสาสมัครเข้าร่วมวิจัย 1000 ราย ถูกคัดออกไป 15 ราย สุดท้ายเหลือผู้ที่อยู่ในงานวิจัย 985 ราย อายุเฉลี่ยของอาสาสมัครคือ 61.3 ปี และร้อยละ 65 เป็นเพศหญิงอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma จากการส่องกล้องด้วยการใช้ LCI+EAC, LCI, EAC และ WLI คือร้อยละ 58.0, 53.4, 52.9 และ 47.8 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma จากการส่องกล้องด้วยการใช้ LCI+EAC สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) จำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องแต่ละกลุ่มคือ 1.27, 1.20, 1.17 และ 0.90 ตามลำดับ โดยจำนวนติ่งเนื้อ adenoma เฉลี่ยต่อการส่องกล้องในกลุ่มที่ใช้ LCI+EAC และกลุ่มที่ใช้ LCI สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.01 และ 0.04 ตามลำดับ)
สรุปผล: การใช้ LCI หรือ EAC มีแนวโน้มเพิ่มอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma แต่การใช้ LCI ร่วมกับ EAC มีอัตราการตรวจพบติ่งเนื้อ adenoma ที่สูงกว่า WLI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
|
dc.description.abstractalternative |
Objective: To investigate whether the Linked Color Imaging (LCI), Endocuff-assisted colonoscopy (EAC) and combination of the LCI and EAC could increase in adenoma detection rate (ADR) when compared with the white-light imaging (WLI)
Methods: We performed a prospective randomized study. Consecutive participants who underwent screening colonoscopy were randomized (1:1:1:1) into colonoscopy by LCI, EAC, LCI+EAC, and WLI. A primary outcome was ADR. Secondary outcome was the number of adenomas per colonoscopy (APC).
Results: A total of 1000 participants were randomised. Fifteen participants were excluded. The remaining 985 participants completed study. The ADR for the LCI+EAC, LCI, EAC, and WLI were 58.0%, 53.4%, 52.9% and 47.8%, respectively. The ADR was significantly higher in the LCI+EAC than in the WLI (P=0.02). The APC for the LCI+EAC, LCI, EAC, and WLI were 1.27, 1.20, 1.17 and, 0.90 respectively. The APC was significantly higher in the LCI+EAC and LCI alone than in the WLI (P=0.01 and P=0.04, respectively).
Conclusion: Our study shows that either LCI or EAC had a trend for better adenoma detection than WLI but their combination was significantly superior. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1475 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบการส่องกล้องลำไส้ใหญ่โดยการใช้ลิงค์คัลเลอร์อิมเมจจิง การใช้เอนโดคัฟ การใช้ลิงค์คัลเลอร์อิมเมจจิงร่วมกับการใช้เอนโดคัฟ กับการกล้องส่องชนิดปกติ ต่ออัตราการตรวจพบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่มาคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
|
dc.title.alternative |
Comparison of Linked Color Imaging, Endocuff-Assisted Colonoscopy, combination between Linked Color Imaging and Endocuff-Assisted Colonoscopy and High-definition Colonoscopy for Adenomas Detection in Colorectal Cancer Screening: A Randomized Trial |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.1475 |
|