DSpace Repository

คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคใหลตาย (Brugada syndrome type 1) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
dc.contributor.author บุษมาส สัจจาภรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T10:07:36Z
dc.date.available 2020-11-11T10:07:36Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69495
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract โรคใหลตายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้ยาก โดยโรคนี้เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นอย่างกะทันหันได้ ซึ่งผู้ป่วยไม่เคยมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ลักษณะอาการทางคลินิกที่พบ คือ ไม่เคยมีอาการแสดงของโรคมาก่อน, เคยมีประวัติเป็นลมหมดสติ, เคยมีประวัติหายใจเฮือก ๆ ขณะนอนหลับและภาวะหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลันหรือเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โรคใหลตายมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยโรคใหลตายต้องเข้ารับการตรวจติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง  วัตถุประสงค์ : การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคใหลตายที่ยังมีชีวิตอยู่ วิธีการวิจัย : ผู้ป่วยโรคใหลตายจำนวน 29 คนที่เข้ารับบริการในเดือน สิงหาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยทำการเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบสอบถาม MacNew และ SF-36, แบบสอบถาม HADS ฉบับภาษาไทยและแบบทดสอบภาวะการรู้คิด คือ Grooved Pegboard, Trail A-B และ CERAD การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์แบบพรรณณาและการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงเส้น ผลการวิจัย : ผู้ป่วยโรคใหลตายเป็นเพศชายร้อยละ 96.60 อายุเฉลี่ย 45.17±13.83 ปี, คะแนนเฉลี่ยโดยรวมแบบสอบถาม MacNew 5.62±0.75 คะแนน, แบบสอบถาม SF-36 ด้านร่างกาย คะแนนเฉลี่ย 49.84±6.42 คะแนนและด้านจิตใจคะแนนเฉลี่ย 52.90±6.31 คะแนน, คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลและความซึมเศร้า คือ 4.41±2.92 และ 3.34±3.30 คะแนนตามลำดับ, การทดสอบภาวะการรู้คิดมี 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง การทดสอบ Grooved Pegboard มือข้างที่ถนัดและมือข้างที่ไม่ถนัด ใช้เวลาเฉลี่ย 78.41±27.87 วินาทีและ 84.52±25.97 วินาที ส่วนที่สอง การทดสอบ Trail A และ B ใช้เวลาเฉลี่ย 53.69 ± 20.65 และ 181.00 ± 80.91 วินาที ในส่วนสุดท้าย  การทดสอบ the Word List Memory, Word List Recall และ Word List Recognition คำที่จำได้เฉลี่ย 21.03 ± 4.35, 7.21 ± 2.62 และ 9.55 ± 0.95 คำตามลำดับ การอภิปรายผล ผู้ป่วยโรคใหลตายส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ซึ่งสูงกว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจอื่นแต่ผลคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยที่มีสุขภาพดี จากการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ พบว่า มีเพียง ความวิตกกังวล เท่านั้น เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุป ผู้ป่วยโรคใหลตายส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง และพบอีกว่า ความวิตกกังวลเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคใหลตาย
dc.description.abstractalternative Background: Brugada syndrome (BrS) is a rare cardiac arrhythmic syndrome which can increase the risk of sudden cardiac death in patients without structural heart disease. Clinical manifestations are included asymptomatic, unexplained syncope, agonal nocturnal breathing and sudden cardiac arrest/death. BrS may affect on patients’ quality of life because BrS patients need long-term follow-up. Objective: To identify the quality of life and the related factors in living patients with BrS. Method: Twenty-nine patients with BrS from August 2019 to April 2020 in King Chulalongkorn Memorial hospital were recruited demographic data, quality of life questionnaires; MacNew and SF-36, Thai-HADS and cognitive test included Grooved Pegboard, Trail A and B and CERAD. Descriptive and multiple linear regression were used to analyze the data. Result: There were 96.60 % of male subjects. The average age was 45.17±13.83 years old. The result of MacNew questionnaire score was 5.62±0.75. SF-36, PCS was 49.84±6.42 and MCS was 52.90±6.31. The score of anxiety and depression from HADS was 4.41±2.92 and 3.34±3.30, respectively. The cognitive test was divided into three parts. The first part, on dominant and non-dominant in Grooved Pegboard was 78.41±27.87 and 84.52±25.97 seconds. The second part, Trail A and B were 53.69 ± 20.65 and 181.00 ± 80.91 seconds. The last part, the Word List Memory, Word List Recall and Word List Recognition was 21.03 ± 4.35, 7.21 ± 2.62 and 9.55 ± 0.95 words, respectively. Discussion: Most of patients with BrS had a moderate level quality of life which was higher than quality of life in patients with other heart diseases but similar to the Thai healthy population. From multiple regression analysis, only the anxiety score had the significant impact on quality of life. Conclusion:  Most of patients with BrS had a moderate quality of life. In addition, anxiety was an essential predictor for quality of life in patients with BrS.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1409
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคใหลตาย (Brugada syndrome type 1) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
dc.title.alternative Quality of life and related factors of patients with Brugada syndrome type 1 in King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขภาพจิต
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1409


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record