DSpace Repository

สตรีนิยมสายนิเวศในวรรณกรรมนิเวศสำนึกของนักเขียนสตรีพื้นเมือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตรีศิลป์ บุญขจร
dc.contributor.author วรมาศ ธัญภัทรกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:35:35Z
dc.date.available 2020-11-11T11:35:35Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69504
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องสตรีนิยมสายนิเวศในวรรณกรรมนิเวศสำนึกของนักเขียนสตรีพื้นเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนทัศน์สตรีนิยมสายนิเวศที่ปรากฏในวรรณกรรมนิเวศสำนึกร่วมสมัยของนักเขียนสตรีพื้นเมือง 3 คน ที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คือ จอย ฮาร์โจ กวีอเมริกันพื้นเมืองเชื้อสายครีก ลินดา โฮแกน นักเขียนอเมริกันพื้นเมืองเชื้อสายชิคาซอว์ และเคธ วอล์คเกอร์ กวีออสเตรเลียนเชื้อสายอะบอริจิน ผลการวิจัยพบว่าวรรณกรรมนิเวศสำนึกของนักเขียนทั้งสามนำเสนอกระบวนทัศน์สตรีนิยมสายนิเวศโดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงแบบคู่ขนานระหว่างพฤติกรรมคุกคามทำลายที่คนขาวกระทำต่อธรรมชาติ กับการกดขี่ ชนพื้นเมืองและสตรีพื้นเมือง อันเป็นผลมาจากโลกทัศน์ทวินิยมแบบจัดลำดับช่วงชั้นและกรอบมโนทัศน์แบบกดทับของวัฒนธรรมทุนนิยม-ปิตาธิปไตยตะวันตก ให้คุณค่ากับวิถีชีวิตแบบชนพื้นเมืองและประสบการณ์ของสตรีที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ จอย ฮาร์โจและเคธ วอล์คเกอร์ นำเสนอกระบวนทัศน์สตรีนิยมสายนิเวศแนววัฒนธรรม โดยฮาร์โจเชิดชูความสัมพันธ์ระหว่างสตรีกับธรรมชาติผ่านประสบการณ์ทางเรือนร่างของสตรีในฐานะ “แม่” ว่าเป็นพลังอำนาจของเพศหญิง ในขณะที่กวีนิพนธ์ของวอล์คเกอร์ เชิดชูวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าอะบอริจินว่าเป็นวิถีชีวิตในอุดมคติ ทั้งฮาร์โจและวอล์คเกอร์ต่างก็โจมตีวัฒนธรรมปิตาธิปไตยตะวันตกในฐานะวัฒนธรรมปฏิปักษ์ ในขณะที่โฮแกนนำเสนอความขัดแย้งเชิงนิเวศระหว่างชนพื้นเมืองกับคนขาวตะวันตก ผ่านกระบวนทัศน์สตรีนิยมสายนิเวศที่ผสมผสานแนววิพากษ์กับแนวหลังอาณานิคม โดยต่อต้านกรอบคิดทวินิยมแบบจัดลำดับช่วงชั้นด้วยการเปิดพื้นที่ให้กับการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสรรพสำเนียงที่เคยถูกกดทับในหน้าประวัติศาสตร์กระแสหลัก เพื่อรองรับอัตลักษณ์แบบผสมผสานของชนพื้นเมืองและสตรีพื้นเมืองที่ถูกปรับปรนขึ้นหลังยุคอาณานิคม   
dc.description.abstractalternative This research aims to analyze the paradigm of ecofeminism appeared in the selected ecological literary works written in English of three native women writers from different cultural backgrounds namely; Joy Harjo, a Native American poet of the Creek Nation, Linda Hogan, a writer of the Chickasaw Nation, and Kath Walker, an Aboriginal-Australian poet. The research shows that the ecological literature of the three writers reveals an eco-feminist paradigm, pointing to the parallelism between the domination of nature and the exploitation of women and indigenous people as a result of the hierarchical dualism, and the oppressive framework of Western capitalist-patriarchy. All three writers value the indigenous way of life and the female bodily experiences that interconnect them with nature. Whereas Harjo’s poetry grabs the relationship between women and nature through the bodily experience of women as "mother" as the power of woman, Walker's praise the Aboriginal tradition as the ideal way of life. Both of them attack the Western patriarchal culture as the Enemy’s culture, thus representing the cultural ecofeminist paradigm. In contrast, Hogan's semi-historical novels, which spans the interactive space and dialogism of the accented voices that have been pressed in the mainstream history represents the combination of critical and post-colonial ecofeminism. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.757
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title สตรีนิยมสายนิเวศในวรรณกรรมนิเวศสำนึกของนักเขียนสตรีพื้นเมือง
dc.title.alternative Eco-feminism in native woman writers’ ecological literary works
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Trisilpa.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.757


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record