dc.contributor.advisor |
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล |
|
dc.contributor.author |
พิมพ์บุษร์ พรหมศรี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:39:52Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:39:52Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69549 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดหยาบจากรากย่านางต่อเชื้อสเตร็ปโตคอกไคที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ และเชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสในช่องปาก สารสกัดหยาบจากรากย่านางนี้ได้มาจากการสกัดด้วยเอทานอล และละลายในเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 20 การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพทำโดยวิธีแพร่สารละลายในวุ้น ตามด้วยวิธีบรอทไมโครไดลูชั่นเพื่อทดสอบหาความเข้มข้นต่ำที่สุดในการทำลายเชื้อ และประเมินระยะเวลาที่สารสกัดใช้ในการทำลายเชื้อด้วยวิธีไทม์คิล พบโซนยับยั้งขนาดเท่ากับ 12.67±1.15 7.67±1.52 และ 10.67±1.15 มิลลิเมตรต่อเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส ซอบรินัส สายพันธุ์ OMZ 176 สเตร็ปโตคอกคัส แซงกวินิส สายพันธุ์ ATCC 10556 และสเตร็ปโตคอกคัส กอร์โดไน สายพันธุ์ DMST 2060 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบโซนยับยั้งขนาดเท่ากับ 10.00±1.00 และ 8.00±1.53 มิลลิเมตร ต่อเชื้อแคนดิดา ทรอปิคาลิส สายพันธุ์ ATCC 750 และแคนดิดา พาราไซโลสิส สายพันธุ์ ATCC 90018 ตามลำดับ ส่วนการทดสอบด้วยวิธีบรอทไมโครไดลูชั่นพบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านเชื้อที่ใช้ทดสอบเกือบทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส ซอบรินัส และเชื้อแคนดิดา ทรอปิคาลิส โดยสารสกัดที่ความเข้มข้นสองเท่าของความเข้มข้นต่ำสุดในการทำลายเชื้อสามารถทำลายเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส ซอบรินัสได้ทั้งหมดภายในเวลา 7 ชั่วโมง แต่ที่ความเข้มข้นหนึ่งเท่าของความเข้มข้นต่ำสุดในการทำลายเชื้อไม่สามารถทำลายเชื้อสายพันธุ์นี้ได้ทั้งหมดภายใน 10 ชั่วโมง สำหรับเชื้อแคนดิดา ทรอปิคาลิส พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้นทั้งหนึ่งเท่า และสองเท่าของความเข้มข้นต่ำสุดในการทำลายเชื้อสามารถทำลายเชื้อสายพันธุ์นี้ได้ทั้งหมดภายในเวลา 10 และ 8 ชั่วโมงตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดหยาบจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อสเตร็ปโตคอกไคที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุและเชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสในช่องปาก โดยเฉพาะเชื้อสเตร็ปโตคอกคัส ซอบรินัส แบคทีเรียก่อโรคฟันผุ และเชื้อแคนดิดา ทรอปิคาลิส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสที่พบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพที่จะพัฒนาสารสกัดนี้ให้เป็นส่วนผสมที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพในวานิช หรือยาป้ายในช่องปาก |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to investigate the antimicrobial activity of crude extract from Tiliacora triandra (Colebr.) Diels root against cariogenic streptococci and oral opportunistic pathogens. The crude extract was prepared by ethanol extraction and dissolved in 20% ethanol. To determine the antimicrobial activity and the minimum bactericidal and fungicidal concentrations (MBC and MFC), an agar well diffusion method followed by a broth microdilution method was used . The time kill analysis was performed to evaluate a duration that the crude extract requires for destroying microorganisms. Zones of inhibition were 12.67±1.15, 7.67±1.52 and 10.67±1.15 mm. against S. sobrinus OMZ 176, S. sanguinis ATCC 10556 and S. gordonii DMST 2060, respectively. In addition, zones of inhibition were 10.00±1.00 and 8.00±1.53mm. against C. tropicalis ATCC 750 and C. parapsilosis ATCC 90018 , respectively. With the broth microdilution method, the extract had antimicrobial activity against most of the tested microorganism especially S. sobrinus and C. tropicalis . The 2xMBC of the extract could destroy all S. sobrinus within 7 hours but 1xMBC couldn't destroy all this strain within 10 hours. For C. tropicalis , both 1xMFC and 2xMFC of the extract could destroy all this strain within 10 and 8 hours. This study showed that the crude extract fromTiliacora triandra (Colebr.) Diels root had antimicrobial activities against cariogenic streptococci and oral opportunistic pathogen especially cariogenic bacteria S. sobrinus and C. tropicalis which is an opportunistic pathogens found in immunocompromised host. These finding indicates the potential to develop the extract as an antimicrobial ingredient in varnish or oral paste products. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.373 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Dentistry |
|
dc.title |
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดหยาบจากย่านางต่อเชื้อสเตร็ปโตคอกไคที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ และเชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสในช่องปาก |
|
dc.title.alternative |
Antimicrobial activity of crude extract from Tiliacora triandra (Colebr.) Diels against cariogenic streptococci and oral opportunistic pathogens |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.373 |
|