dc.contributor.advisor |
ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ศีลัสยา ลีลาพงศ์ฤทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:39:56Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:39:56Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69558 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดของระบบสารยึดติดร่วมกับเรซินซีเมนต์ และชนิดของไฮบริดเซรามิกสำหรับงานแคดแคม ต่อค่าความแข็งแรงพันธะแรงเฉือนระดับจุลภาค โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการ ยึดติดไฮบริดเซรามิก 3 ชนิด คือ เรซินนาโนเซรามิก กลาสเซรามิกที่อยู่ในโครงข่ายเมทริกซ์ของเรซิน และเซอร์โคเนียซิลิกาเซรามิกที่อยู่ในโครงข่ายเมทริกซ์ของเรซิน กับเนื้อฟันด้านใกล้แก้มที่ขัดเรียบของฟันกรามน้อยที่ถูกถอนมาแล้ว ด้วยสารยึดติด และเรซินซีเมนต์ใน 3 ระบบ คือ ระบบเอทช์แอนด์ริ้นส์ ระบบเซลฟ์เอทช์ และระบบยูนิเวอร์ซอลในรูปแบบเอทช์แอนด์ริ้นส์ ชิ้นทดสอบมีทั้งหมด 99 ชิ้น แบ่งเป็น 9 กลุ่ม หลังจากผ่านกระบวนการจำลองการใช้งานในช่องปากด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิร้อนเย็นเป็นจังหวะ 10,000 รอบ นำไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงพันธะแรงเฉือนระดับจุลภาค วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ 95 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าความแข็งแรงพันธะแรงเฉือนระดับจุลภาคระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูคี จากการทดสอบพบว่า เมื่อยึดติดวัสดุทั้งสามชนิดด้วยสารยึดติด และเรซินซีเมนต์ที่ใช้รูปแบบเอทช์แอนด์ริ้นส์ (Optibond FL® ร่วมกับ Nexus3® และ Scotchbond Universal® ร่วมกับ RelyX™Ultimate®) ทำให้ค่าความแข็งแรงพันธะแรงเฉือนระดับจุลภาคมากกว่ากลุ่มที่ใช้สารยึดติดร่วมกับเรซินซีเมนต์ ระบบเซลฟ์เอทช์ (Optibond XTR® ร่วมกับ Nexus3®) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายใต้ข้อจำกัดของการศึกษานี้ทำให้สรุปได้ว่า ชนิดของสารยึดติดร่วมกับเรซินซีเมนต์ และชนิดของไฮบริดเซรามิกมีผลต่อค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาค ซึ่งพบว่าเมื่อเลือกใช้ชิ้นงานที่ทำจากไฮบริดเซรามิกจะแนะนำให้ใช้สารยึดติด และเรซินซีเมนต์ในรูปแบบเอทช์แอนด์ริ้นส์ |
|
dc.description.abstractalternative |
The aim of this in vitro study was to evaluate the effect on microshear bond strength of various types of bonding systems with resin cement and different types of hybrid CAD/CAM ceramic bonded to dentin. Three hybrid ceramics, resin-nanoceramic, glass-ceramic in a resin interpenetrating matrix, and zirconia-silica ceramic in a resin interpenetrating matrix, were bonded to flat buccal dentin surface of extracted human premolar using etch and rinse adhesive, self-etch adhesive, and universal adhesive system with dual-cure resin cement. There were 99 samples divided into 9 groups. After 10,000 cycles of thermocycling, all specimens were tested for microshear bond strength. Data were analyzed using a two-way ANOVA and Tukey’s test (α = 0.05). The microshear bond strength in etch and rinse mode(Optibond FL®with Nexus3® and Scotchbond Universal® with RelyX™Ultimate®) was greater than the self-etch adhesive (Optibond XTR® with Nexus3®) in all hybrid ceramic tested. Within the limit of the study, there was significant difference between the microshear bond strength when using various types of bonding systems with different types of hybrid ceramic. Etch and rinse system or universal adhesive in etch and rinse mode were recommended to cement with hybrid CAD/CAM ceramic. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.812 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Dentistry |
|
dc.title |
การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความแข็งแรงพันธะแรงเฉือนระดับจุลภาค เมื่อใช้สารยึดติดระบบต่างๆ กับวัสดุไฮบริดเซรามิกสําหรับงานแคดแคม |
|
dc.title.alternative |
A Comparative Study of Microshear Bond Strength of Hybrid CAD/CAM Ceramic with Various Bonding Systems |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมหัตถการ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.812 |
|