DSpace Repository

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานิตย์ จุมปา
dc.contributor.author ลักษณภัทร ลิ้มเทียมเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:43:56Z
dc.date.available 2020-11-11T11:43:56Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69596
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต และหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตในต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต และประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าในทางทฤษฎีนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียชีวิตได้รับการรับรองอย่างมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สำหรับในประเทศที่กฎหมายว่าด้วยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้รับรองและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เสียชีวิตโดยตรงนั้น ปรากฏว่าศาลใช้วิธีการนำเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาตีความรวมกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางฉบับคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียชีวิตโดยตรงด้วยได้แก่ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และงานจิตกรรม ค.ศ. 1907 (Kunsturhebergesetz 1907: KUG) ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับทางวิชาชีพ และสำหรับประเทศที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีบทบัญญัติคุ้มครองถึงบุคคลที่เสียชีวิต บทบัญญัติดังกล่าวมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ก็สามารถให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในบรรดาประเทศเหล่านี้ยังกำหนดบุคคลผู้สามารถฟ้องคดีหรือดำเนินการร้องขอความคุ้มครองแก่ข้อมูลของบุคคลผู้เสียชีวิตเอาไว้อย่างชัดเจนด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่แบบกลับไม่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต นอกจากนี้ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อคุ้มครองข้อมูลของบุคคลที่เสียชีวิตโดยตรงได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขสองแนวทางที่จะทำให้สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิตได้รับการคุ้มครองในประเทศไทย ประการแรก ในช่วงที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหรือในระหว่างที่มีการแก้ไขกฎหมาย ควรจะนำเอาแนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต ในขณะที่ข้อเสนอประการที่สองนั้น คือการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อให้การคุ้มครองครอบคลุมถึงข้อมูลของบุคคลที่เสียชีวิต และกำหนดตัวบุคคลที่สามารถดำเนินการเรียกร้องการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียชีวิตแทนผู้เสียชีวิตเอาไว้ด้วย
dc.description.abstractalternative The thesis aims to study the theories that can be used to promote and protect the deceased's personal information. The thesis also uses a documentary review method to research and compare the protection of information of the deceased in two different groups of countries. Firstly, the countries where the personal information protection act is not covered to the deceased’s information have been studied. Secondly, the law that presents the protection of deceased data in some specific countries was cultivated. The results from both theoretical and empirical studies will be used to compare and indicate that the personal data protection act and related law in Thailand have a riddle on protecting the deceased's data. According to the study, personal information of the deceased receive concrete protection in theoretical means. In detail, the defense is offered under the theory of human dignity. The countries where the personal data protection act has not covered the deceased's information also implied the human dignity theory with the related law to protect the deceased's information. They also have a set of rules that directly protect the deceased's personnel information such as, Kunsturhebergesetz 1907 and the criminal code on professional secrets. Moreover, for the countries that personal data protection act directly protect the deceased's information, even the character of the protection in each state is different, but its protection is adequate. Also, the law in such countries typically identified the person who can activate the lawsuit or request the protection in the name of the deceased, offering full protection to the them. In contrast, the Thailand personal data protection act 2562 B.E., which is the model law of protecting personal data, is not offered protection to the deceased's information. Thus, other related laws can not also protect the personal data of the deceased directly. Therefore, the research provides two leading suggestions to solve the problem.  First, when there is still a protection vacancy in the legal system, the related law should be interpreted under the theory of human dignity to protect the deceased's personal information. Second, personal data protection act 2562 B.E. and official information act 2540 B.E. must be amended to offer full protection to the date's personal information. The amended law must also be explicitly appointed the person who can request for the protection in the name of the deceased.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.916
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เสียชีวิต
dc.title.alternative The protection of personal data of deceased person
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Manit.J@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.916


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record