dc.contributor.advisor |
อรพรรณ พนัสพัฒนา |
|
dc.contributor.author |
วรี เมธาประยูร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:43:56Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:43:56Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69597 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
เครื่องหมายการค้ารสชาติถือเป็นหนึ่งในเครื่องหมายการค้ารูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการหลายรายเริ่มนำสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามาใช้ในฐานะเครื่องหมายการค้าเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตน ซึ่งรวมถึงรสชาติด้วย ดังนั้น เครื่องหมายการค้ารสชาติจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น และในหลายประเทศได้ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ของประเทศไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองรสชาติในฐานะเป็นเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด
เพื่อให้สามารถเสนอแนะแนวทางในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายเครื่องหมายการค้า คำพิพากษา และหลักเกณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประเทศแคนาดาและประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติ ตลอดจนดำเนินการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า โดยแบ่งบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแบ่งเป็นปัญหาต่าง ๆ ได้ดังนี้ ความเหมาะสมในการนำรสชาติมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า บทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” ลักษณะบ่งเฉพาะและการแสดงลักษณะบ่งเฉพาะ ลักษณะต้องห้ามของเครื่องหมายการค้ารสชาติ การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนแล้ว ตลอดจนความพร้อมในการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารสชาติ
ผู้เขียนเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติ ได้แก่ การนำเทคโนโลยี วิทยาการ หรือเครื่องมือที่ทันสมัย และการว่าจ้างผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามาช่วยในกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การยื่นคำขอจดทะเบียน การพิจารณาและตรวจสอบเพื่อรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รวมถึงการเก็บรักษาตัวอย่างเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
dc.description.abstractalternative |
Gustatory Mark or Taste Mark is considered as one of the most widespread non-traditional trademarks in recent years. Numerous manufacturers and entrepreneurs have been utilizing the invisible elements as trademarks to distinguish their products from those of competitors in the market including their unique flavors. In many countries, the provisions of trademark laws have been extended to protect taste mark. However, in Thailand taste mark has not been protected under the Trademark Act of B.E. 2534.
The purpose of this study is to suggest the taste mark protection in Thailand. This study contains research of the provisions of the trademark law, decision and regulations of the United States of America, European Union, Canada and New Zealand which are the countries that provide the protection of taste mark. Furthermore, the study includes interviews from 4 different parties who are involved in trademark protection namely Department of Intellectual Property, Legal Advisor, Manufacturers and Entrepreneurs, and Consumers. This study has analyzed and concluded problems as follows: propriety of taste as a trademark, the definition of “marks”, examination of nature and distinctiveness of taste, examination of prohibited characteristics of taste, examination of similarity of taste, and preparation of taste trademark registration.
The study suggests the provisions of the Trademark Act of B.E. 2534 be amended and included more rules or regulations to provide the protection of taste mark. Besides, this study proposes to utilize modern technology and equipment and to require specialists and experts to assist the entire process registration of trademark filing as well as the storage of registered taste mark - with the intention to ensure that Thailand will establish taste mark protection efficiently. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.919 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
การให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารสชาติในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Protection of gustatory mark in Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Orabhund.P@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.919 |
|