dc.contributor.advisor | ณัชพล จิตติรัตน์ | |
dc.contributor.author | อังค์วรา วัฒนรุ่ง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:43:57Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T11:43:57Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69598 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ “UAV”) เป็นเครื่องมือสิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในงานกิจการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของรัฐบาล การใช้งานเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้งานส่วนบุคคล ซึ่งอากาศยานไร้คนขับโดยส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งกล้องที่มีความคมชัดสูง หรืออุปกรณ์รวบรวมข้อมูลอื่นๆ ไว้ ทำให้ลักษณะของการใช้งานอากาศยานไร้คนขับซึ่งบินในมุมสูงในแต่ละครั้ง อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการละเมิดความเป็นส่วนตัว และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้อากาศยานไร้คนขับส่วนบุคคลนั้น ได้แก่ การใช้อากาศยานไร้คนขับรุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล และการใช้อากาศยานไร้คนขับเป็นเครื่องมือในการถ้ำมอง รวมถึงการแอบถ่าย สอดแนม และการละเมิดความเป็นส่วนตัวอื่นๆ โดยอากาศยานไร้คนขับนั้นอาจถูกนำมาใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องพิจารณาถึงปัญหาจากการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น การบุกรุกโดยอากาศยานไร้คนขับ (Trespass by UAV) การใช้อากาศยานไร้คนขับในการถ้ำมอง (Voyeurism) การใช้อากาศยานไร้คนขับในการสอดแนม (Spying) หรือติดตามบุคคลอื่น (Stalking) เป็นต้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จะศึกษาถึงแนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งแบ่งการพิจารณาออกเป็นสามประเด็น ได้แก่ การบุกรุกโดยอากาศยานไร้คนขับ การถ้ำมองโดยอากาศยานไร้คนขับ และการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยอากาศยานไร้คนขับ โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายไทยกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัว และศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัวในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา จำนวน 5 มลรัฐ ได้แก่ มลรัฐเทนเนสซี มลรัฐมิสซิสซิปปี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย มลรัฐหลุยเซียนา และมลรัฐโรดไอแลนด์ เพื่อหาแนวทางคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมจากการใช้อากาศยานไร้คนขับ | |
dc.description.abstractalternative | Unmanned Aerial Vehicle (UAV) is a new device used in various fields, including governmental, commercial, or personal business. Most UAVs are equipped with a high definition camera or other data collection instrument, resulting in the UAVs that fly at high altitudes each time may be used as a privacy-violating tool and causing damages to the right of privacy of others. Issues arising from the use of the personal UAV are namely, trespassing personal property and voyeurism, including but not limited to, scouting, spying or other acts of the violation of privacy. The UAV may be misused. Therefore, we need to consider numerous drawbacks of using the UAV in violation of personal rights, for instance, trespass by UAV, voyeurism, spying or stalking. This thesis aims to study the criminal liabilities of privacy violations by UAV. It divides into three main issues, which are trespassing by UAV, voyeurism by UAV, and violation of privacy by UAV. The thesis examines Thai law enforcement problems and the use of the UAV violating privacy. It also analyzes the overseas (i.e. the U.S.)’s law regarding the use of the UAV and the violation of privacy in five following states; Tennessee, Mississippi, California, Louisiana, and Rhode Island, in order to achieve an appropriate approach of privacy protection in the use of UAV. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.924 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.title | การกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ | |
dc.title.alternative | Criminal liabilities of privacy violation by unmanned aircraft vehicle | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Natchapol.J@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.924 |