dc.contributor.advisor | คณพล จันทน์หอม | |
dc.contributor.author | กฤตชญา เอี่ยมวรเมธ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:43:59Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T11:43:59Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69603 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับการปล่อยชั่วคราวในประเทศไทยเพื่อสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยแก่ผู้เสียหายและสังคม จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นไม่สามารถที่จะประเมินความเสี่ยงได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นจะไปกระทำความผิดซ้ำหรือจะก่อเหตุร้ายประการอื่นหรือไม่ เนื่องจากศาลต้องพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยเร็วอันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจรวบรวมข้อมูลของผู้ต้องหาหรือจำเลยได้อย่างครบถ้วน คงมีเพียงเหตุตามข้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำร้องขอปล่อยชั่วคราว คำฟ้อง และคำร้องขอฝากขังเท่านั้น เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวและเหตุที่จะไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว รวมถึงรูปแบบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของประเทศสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ประเทศสวีเดน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศออสเตรเลีย แล้วจะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่หลากหลาย เช่น การกำหนดความผิดที่จะไม่ให้ปล่อยชั่วคราว และการแสดงเหตุที่ไม่ควรถูกคุมขัง เป็นต้น ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ คือ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว เช่น ลักษณะและอุปนิสัยของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นต้น และเหตุที่ไม่ควรให้ปล่อยชั่วคราวคือ ผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีอื่น นอกจากนี้ควรมีการกำหนดความผิดที่จะไม่ให้ปล่อยชั่วคราวได้ คือ ความผิดต่อชีวิต และความผิดเกี่ยวกับเพศ รวมถึงมีการกำหนดรูปแบบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีหน้าที่ต้องแสดงเหตุอันควรที่ศาลควรมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จากนั้นศาลจึงจะพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป ในขณะเดียวกันพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะต้องแสดงข้อมูลให้ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นมีความเสี่ยงที่จะหลบหนีหรือก่อเหตุร้ายประการอื่นด้วย | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to study the provisional release criteria under the relevant laws of Thailand and compare them with those of other countries in order to find out the guidelines for the revision of criteria used for the consideration of application. Thereby, the said criteria are expected to be in compliance with the laws concerning provisional release in Thailand, which can ensure the safety of both victims and societies. According to the study, it is found that the criteria for considering the application under the Criminal Procedure Code cannot be used to evaluate the risks of defendants’ criminal repetition or other criminal offenses. Only the grounds for the charges stated in application, indictment, and request for detention are used for consideration. Considering the criteria for determining the application and the grounds for not allowing the said release from Scotland, England, Sweden, the United States, and Australia, it can be seen that these countries have established different criteria for the consideration on application, determine non-bailable offences, and show compelling reason. The suggestions of this study include the revision of criteria for consideration on application for provisional release, for instance, the nature and the characters of the accused or the defendants, the revision of the grounds for not allowing provisional release, for example, in case the accused or defendants are pending for other trials. In addition, non-bailable offences should be established. Also, patterns of consideration on application should be set up, requiring the accused or defendants to show compelling reason that can persuade the court to approve provisional release. At the meantime, the investigators or the prosecutors must provide precise information for the court to be awared that the accused or the defendants are prone to escape or commit other crimes. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.901 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.title | การพัฒนาหลักเกณฑ์ในการปล่อยชั่วคราวโดยศาลเพื่อสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยแก่ผู้เสียหายและสังคม | |
dc.title.alternative | The development of principle for provisional release by the court in order to provide security for victims and society | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Kanaphon.C@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.901 |