dc.contributor.advisor | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ | |
dc.contributor.author | นุศรา นิลแสง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:45:58Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T11:45:58Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69635 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2) เพื่อศึกษา อายุ เพศ บุคลิกภาพ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังระหว่าง อายุ เพศ บุคลิกภาพ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินบุคลิกภาพ แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา และคำนวณหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินบุคลิกภาพ แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ได้เท่ากับ 0.83, 0.92, 0.85, 0.81 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test และสถิติ ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 60.5 และมีความว้าเหว่ระดับสูงร้อยละ 10 2. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี) เป็นเพศชายและเพศหญิงในจำนวนเกือบเท่ากัน มีบุคลิกภาพแบบแสดงออกและมีอารมณ์อ่อนไหวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95 มีระยะเวลานอนเฉลี่ย 10.3 วัน และมีจำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติมากที่สุดคือ 2 ครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อยะ 46.3 ส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 42.50 และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 57.75 และรู้สึกได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 70 3. ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามอายุ เพศ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุตอนปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) มีความว้าเหว่มากกว่าผู้สูงอายุตอนกลาง (อายุ 69-70 ปี) และผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี) เพศหญิงมีความว้าเหว่มากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีจำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ 3 ครั้งต่อวันมีความว้าเหว่มากกว่าผู้ที่มีจำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติในรูปแบบอื่นๆ ผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับต่ำมีความว้าเหว่มากกว่าผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับปานกลางและสูง ผู้สูงอายุที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูงและผู้ที่มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูงมีความว้าเหว่มากกว่าผู้ที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและผู้ที่มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางและระดับต่ำ ส่วนบุคลิกภาพที่แตกต่างกันมีความว้าเหว่ไม่แตกต่างกัน | |
dc.description.abstractalternative | This survey research aimed to study loneliness in hospitalized older persons with chronic illnesses and to study and compare variables between age, sex, personality, length of stay, number of visits of reltives, activity of daily living, self-esteem, and social support and loneliness in hospitalized older persons with chronic illnesses. Participants consisted of 400 hospitalized older persons with chronic illnesses in inpatient department in teriary public hospitals, Bangkok Metropolis, and were selected by using multi-stage random sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, Barthel ADL Index, Culteral-Free Self-Esteem Inventory (CFSEI-2), Maudsley Personality Inventory (MPI), Social Support, and the Schedule for the Measurement of Loneliness and Cathectic Investment (SMLC) which were tested for content validity and reliability. The Cronbach’s alpha coefficients were 0.83, 0.92, 0.85, 0.81 and .86 respectively. Data were analysed by using descriptive statistics, independent t-test and one-way ANOVA. The findings were as follows: 1. Loneliness of the hospitalized older persons with chronic illnesses was at low level (60.5%), follow by high level (10%) 2. The variables related to hospitalized older persons with chronic illnesses were age at young old group (60-69 years), sex with almost equal in number of males and females, had the most expressive and sensitive personality (95%), the average length of stay of 10.3 days, the most number of visits of their relatives was 2 times a day (46.3%), perform daily activities at a low level (42.50%), had low self-esteem (57.75%), and feel that social support is at a high level (70%). 3. Loneliness in hospitalized older persons with chronic illnesses was significantly different by age, sex, length of stay, number of visits of reltives, activity of daily living, self-esteem, and social support at the level of 0.05, but personality was not significantly different. The oldest-old (aged 80 years and older) were lonelier than the others aged group. Females were lonelier than males. Those who had relative visited 3 times a day, low daily activities, high level of self-esteem, and those with a high level of social support were found more loneliness. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.996 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ | |
dc.subject | ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล | |
dc.subject | Loneliness in old age | |
dc.subject | Chronically ill -- Care | |
dc.title | การศึกษาความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | |
dc.title.alternative | A study of loneliness in hospitalized older persons with chronic illnesses | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.996 |