dc.contributor.advisor |
วิชชุตา วุธาทิตย์ |
|
dc.contributor.author |
ชุมพล ชะนะมา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:53:31Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:53:31Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69670 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ค้นหายุคทอง แนวความคิด และรูปแบบการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2530 – 2560 และเพื่อศึกษาผลกระทบทางบริบทในสังคมและวัฒนธรรมต่องานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เป็นการศึกษาและใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสัมมนา สื่อสารสนเทศอื่น ๆ และการสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยนำข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ให้ได้มาซึ่งผลของการวิจัย และสรุปผลตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2536 – 2550 แนวความคิดของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยเกิดขึ้นในประเทศไทย คือ 1) แนวคิดการสร้างสรรค์งานจากบทวรรณกรรมเดิมในรูปแบบใหม่ 2) แนวคิดในการนำวัฒนธรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมดั้งเดิม 3) แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ 4) แนวคิดการเต้นเฉพาะที่ 5) แนวคิดการแสดงที่สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลก 6) แนวคิดการแสดงดั้งเดิมของอาเซียนผ่านมุมมองของศิลปะร่วมสมัย 7) แนวคิดลีลาแบบธรรมชาติ 8) แนวคิดการด้นสด 9) แนวคิดการมีส่วนร่วม และใส่ใจของชุมชน 10) แนวคิดการออกแบบลีลานาฏยศิลป์ไม่ระบุเพศ 11) แนวคิดการแสดงที่อาศัย องค์ความรู้ที่หลากหลายมากกว่าองค์ความรู้ 12) แนวคิดการสร้างสรรค์งานด้วยคุณธรรมและจริยธรรม โดยมีรูปแบบของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่นำเสนอแนวคิดออกมาเห็นเชิงประจักษ์ มีความแตกต่างจากรูปแบบของงานนาฏยศิลป์ไทยที่มีจารีต และกรอบของรูปแบบการแสดงอย่างชัดเจนผลกระทบที่เกิดจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นต่องานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ได้ปรากฏขึ้น 7 ประเด็นคือ 1) การเมือง การปกครอง และนโยบายด้านการบริหารงานวัฒนธรรมของภาครัฐ 2) การศึกษาทางนาฏยศิลป์ 3) การสร้างสรรค์และการแข่งขันทางนาฏยศิลป์ 4) การประกอบธุรกิจทางนาฏยศิลป์ 5) ศิลปะการแสดงละครเวทีในประเทศไทย 6) ศิลปะตะวันตกและศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย 7) ดนตรีไทยร่วมสมัยในประเทศไทย ผลการวิจัยนี้ทำให้ผู้วิจัยได้พบองค์ความรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ |
|
dc.description.abstractalternative |
This research study discovers the golden age of Thai contemporary dance in Thailand. The objectives of this study are to investigate, analyze and search for the golden age, concept, and the work creation style of Thai contemporary dance, which occurred during B.E. 2530 – B.E. 2560; and to investigate the effect of social and cultural contexts for Thai contemporary dance. Qualitative research methodology is employed in this study. The tools for data analysis are document study, interview of professions, seminars and other information media, and field data survey. The data are analyzed and synthesized in order to achieve the result and conclusion. The result of the study reveals that the golden age of Thai contemporary dance in Thailand occurred during B.E. 2536 – B.E. 2550. The concepts of Thai contemporary dance consist of 1) the adaptation of original literature into a new style; 2) the adaptation of diversified cultures with original culture; 3) symbolic concept; 4) site-specific dance concept; 5) a performance to reflect the world issues; 6) the traditional performance of Asian through the contemporary art aspect; 7) the concept of natural dance performance; 8) the concept of impromptu; 9) the concept of local participation and attention; 10) the concept of non-gender grace; 11) the performance of various kinds of knowledge integration; and 12) work of moral and ethics. The style of Thai contemporary dance empirically manifests the concepts, unlike the style of traditional Thai dance. Their performance frameworks clearly differ from each other. The effect of social and cultural contexts on Thai contemporary dance appears to be 7 issues: 1) politics, government, and cultural administration policy by government sectors; 2) Thai dance education; 3) Thai dance creation and competition; 4) business of Thai dance; 5) stage play in Thailand; 6) Western and contemporary arts in Thailand; and contemporary music in Thailand. The results of this study accomplished every purpose of the researcher. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.837 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
ยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
The golden age of Thai contemporary dance |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Vijjuta.V@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.837 |
|