dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | |
dc.contributor.author | ณัฐพร เพ็ชรเรือง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:53:44Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T11:53:44Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69688 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาความหมายของสีจากกลุ่มตัวอย่างของคนที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2538–2552 หรือกลุ่ม เจเนอเรชั่นซี (Generation Z) และนำข้อมูลมาสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายของสี โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ แบบสอบถามความหมายของสี 400 ฉบับ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย ซึ่งนำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 7 องค์ประกอบ คือ 1) บทการแสดงได้สอบถามความหมายของสีตามทฤษฎีสีทางทัศนศิลป์จากกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 องก์ คือ องก์ที่ 1 สีขั้นที่ 1 ประกอบไปด้วยความหมายของสีน้ำเงิน ความสุขุม สงบนิ่ง สีเหลือง หมายถึง ความสดใส และสีแดง หมายถึง ความร้อนแรง องก์ที่ 2 สีขั้นที่ 2 ประกอบไปด้วยความหมายของสีส้ม หมายถึง ความอบอุ่น สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และสีม่วง หมายถึง ความลึกลับ 2) นักแสดง ใช้นักแสดงทั้งหญิงและชาย มีทักษะความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ไทยและสามารถสื่อสารอารมณ์ผ่านลีลานาฏยศิลป์ไทย 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลานาฏยศิลป์ไทยมานำเสนอความหมายของสี 4) ดนตรีประกอบการแสดง ได้เลือกเสียงของเครื่องดนตรีไทยมาประกอบลีลาสื่อความหมายของสี 5) เครื่องแต่งกายออกแบบตามรูปแบบนาฏยศิลป์ไทย รวมทั้งใช้ความเรียบง่ายผ่านการใช้สีขาวเพียงสีเดียวและมีการลดทอนเครื่องประดับ 6) พื้นที่การแสดง ออกแบบตามวงล้อของสีทางทัศนศิลป์ 7) แสง ออกแบบตามวงล้อของสีทางทัศนศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายของสี 5 ประการ คือ 1) การคำนึงถึงความหมายของสีในการสร้างงานนาฏยศิลป์ 2) การคำนึงถึงทฤษฎีทางทัศนศิลป์ 3) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างงานนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงจารีตและแบบแผนในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยอนุรักษ์ 5) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ ทั้งนี้การวิจัยในครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการต่อยอดและพัฒนาผลงานนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต | |
dc.description.abstractalternative | This study aims to investigate meanings of colors in the view of respondents who were born between 1995 and 2009, so called the Generation Z and to create a dance based on the data gained. The focus was on seeking for types and concepts from the creation of the dance applying meanings of colors. A qualitative method and creative research were integrated as a research methodology. Data collection included a survey of related academic literature, 400 copies of a questionnaire on meanings of colors, an interview, an observation, a seminar, and related media. Moreover, the criteria for honoring a Thai classical dance role model and personal experiences of the researcher were applied in investigating, analyzing, synthesizing, and creating the dance. Findings revealed 7 elements of the dance, including 1) an acting script from meanings of colors based on color theory in visual arts from the respondents. It consisted of 2 acts; the first act featured dark blue referring to calmness, yellow conveying freshness, and red signifying hotness, while the second act presented warmth by using orange, green referring to fertility, and purple conveying mystery, 2)male and female performers who had Thai classical dance skills and were able to express emotions through performing the dance, 3) choreography that applied Thai classical dance in presenting the meanings of colors, 4) music which exclusively incorporated the sound of Thai instruments in the performance to represent those meanings, 5) costume which adopted Thai classical dance styles and simplicity from an exclusive application of white with less costume jewelry, 6) landscape designed based on the color wheel in visual arts, and 7) lighting applying the concept of the color wheel in visual arts. Besides, 5 principles of dance creation were formulated. These were 1) considerations of meanings of colors, 2) considerations of theories of visual arts, 3) considerations of applying sings, 4) considerations of custom and principles of Thai traditional dance creation, and 5) considerations of creativity. Hence, this study integrates knowledge of dance with other related fields aiming to accelerate academic progress in dance creation for further creation and development of the arts. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1342 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความหมายของสี | |
dc.title.alternative | The creation of a dance from meaning of color | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Naraphong.C@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1342 |