DSpace Repository

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล

Show simple item record

dc.contributor.advisor นราพงษ์ จรัสศรี
dc.contributor.author นัฏภรณ์ พูลภักดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:53:44Z
dc.date.available 2020-11-11T11:53:44Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69689
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล” ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทคนิคมายากลทั้ง 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) การปรากฏ 2) การย้ายที่ 3) การเปลี่ยนรูป 4) การคืนสภาพ 5) การทะลุทะลวง 6) การต้านกฎธรรมชาติ 7) การอันตรธาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล มีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลเชิงเอกสารทางด้านนาฏยศิลป์และมายากล การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ สรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้ สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของนาฏยศิลป์ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยแบ่งเป็นทั้ง 7 องก์การแสดง ผ่านการตีความตามความหมายที่อธิบายถึงเทคนิคมายากล 2) นักแสดง มีทักษะการถ่ายทอดลีลาด้านนาฏยศิลป์สมัยใหม่ การแสดงมายากล นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ บัลเลต์ และนักกีฬายิมนาสติก 3) ลีลานาฏยศิลป์ โดยใช้ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ประกอบการแสดงมายากล ลีลานาฏยศิลป์สมัยใหม่ ลีลานาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ลีลาการเคลื่อนไหวแบบบัลเลต์ และลีลาการเคลื่อนไหวทางยิมนาสติก 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง มีการใช้ผ้ายืดสีเงินที่มีความยืดหยุ่นได้ เพื่อเปลี่ยนรูปร่างให้เป็นลักษณะต่าง ๆ มีการใช้ฉากหลังขนาดใหญ่ที่ใช้ผ้าตัดเป็นทางยาว เพื่อให้นักแสดงสามารถทะลุผ่านไปได้ มีการใช้อุปกรณ์กีฬาแทรมโพลีน เพื่อสื่อถึงการลอยตัวต้านกฎธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงอื่น ๆ เช่น กล่องลัง เก้าอี้ กาน้ำ หนังสือ เป็นต้น 5) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นเสียงที่มาจากการบรรเลงสดโดยใช้วงดนตรีเชมเบอร์ 6) เครื่องแต่งกาย มีการใช้เครื่องแต่งกายแบบสากลนิยมทั้งนักแสดงชายและหญิง เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงมาตรฐานของการยอมรับในระดับสากล 7) พื้นที่แสดง ใช้โรงละครในลักษณะของแบล็ค บ๊อกซ์ เธียเตอร์ (Black Box Theatre) มีพื้นที่สี่เหลี่ยม 8) แสง ใช้แสงสื่อถึงบรรยากาศของการแสดงมายากล เช่น ความลึกลับ การซ่อนเร้น นอกจากนี้มีแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แนวคิดโดยการคำนึงถึงแนวคิดที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงเทคนิคมายากล 2) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในผลงานนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีด้านทัศนศิลป์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้ มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ เชื่อมโยงประสบการณ์และพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการและวงการนาฏยศิลป์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้สร้างสรรค์ผลงานในอนาคต
dc.description.abstractalternative The dissertation entitled “THE CREATION OF A DANCE FROM MAGIC TRICKS” was inspired by 7 magic tricks as follows: 1) Appearance 2) Transposition 3) Transformation 4) Restoration 5) Penetration 6) Defiance of Natural Rules and 7) Disappearance. The purposes were to explore the dance’s format and concept gained from creating a dance inspired by 7 magic tricks. The qualitative and creative research design were employed. In addition, the research instruments were relevant literature review, interview, information media, field trip, seminar, artist’s standard criteria including the researcher’s experience. The data were analyzed and synthesized to explore the format for creating a dance then summarized and finally the result was proposed.  The finding showed that the format for creating a dance composes of eight components: 1) performance’s script being divided into 7 acts and analysed based on Magic Tricks’ concept, 2) a group of actors who are good at modern dramatic-arts, magic-trick performance and gymnastics, 3) gestures and body movements for magic-trick performance adapted from the movement of modern dramatic-arts, ballet performance and gymnastic, 4) performance's props, for examples silver-colored elastic cloth for transforming objects in various forms, large elastic cloth as a partition for letting actors penetrating to another side of the partition, a trampoline for showing floating condition and other props like paper boxes, a chair, a kettle and a book, etc. 5) various sound effects designed and performed by Chamber Band, 6) performance’s costumes being designed in forms of formal attire to express qualified standard, 7) performing location at Black Box Theatre where is included with a large square area as well as 8) the stage's lights to clearly convey the ideas of performance, such as mystery or disguise.  In addition, there were ideas obtained after this creation. The researcher got the idea by considering 5 important concepts which were  1) consideration of magic techniques. 2) consideration of creativity in dance performance. 3) consideration of using symbols in dance performance. 4) Consideration of the concepts of postmodern dance. 5) Consideration of the visual arts theory. Due to the analysis, the research results are consistent and meet all research objectives. Hopefully, the current research study is a compilation of knowledge, experience connection and the development of creative processes to elevate academic and dance circles. Moreover, it was hoped to be a guideline for creating future works of creators.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1344
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล
dc.title.alternative The creation of a dance from magic tricks
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Naraphong.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1344


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record