dc.contributor.advisor |
นราพงษ์ จรัสศรี |
|
dc.contributor.author |
วณิชชา ภราดรสุธรรม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:53:46Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:53:46Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69691 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ มีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ออกแบบบทการแสดงโดยวิเคราะห์จากระบบของทฤษฎีไร้ระเบียบ แบ่งออกเป็น 4 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ที่ 1 ตัวดึงดูด (Attractor) องก์ที่ 2 ผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) องก์ที่ 3 ไร้เสถียรภาพ (Unstable) และองก์ที่ 4 เรขาคณิตแบบเศษส่วน (Fractal) 2) นักแสดง ใช้การคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะในการแสดงที่หลากหลายรวมทั้งรูปร่าง สีผิว เพศ ที่หลากหลายในการแสดง 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) การด้นสด (Improvisation) ตามหลักของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ และลีลาการเคลื่อนไหวเชิงละคร 4) เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า ใช้เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันมาออกแบบให้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิมและใช้การแต่งหน้าขาวเพื่อลดทอนการแสดงสีหน้าของนักแสดง 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่พบเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน 6) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง ออกแบบเสียงและดนตรีให้มีความสอดคล้องกับบทการแสดงและใช้วิธีการบันทึกเสียงและตัดต่อเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 7) ฉากและพื้นที่การแสดง ออกแบบฉากโดยใช้การฉายภาพเคลื่อนไหวผ่านเครื่องฉายวีดิทัศน์ลงบนพื้นหลังของเวทีและตัวนักแสดง พื้นที่การแสดงใช้โรงละครประเภทแบล็คบ๊อคเธียเตอร์ (Black Box Theatre) ในการจัดการแสดง 8) แสง ใช้แสงเพื่อกำหนดพื้นที่ในแสดงเป็นหลักและสร้างอารมณ์ร่วมในการแสดง นอกจากนี้พบว่ามีแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ 5 ประการ ได้แก่ 1) ทฤษฎีไร้ระเบียบ 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) ความหลากหลายในงานนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดนาฏยศิลป์สร้างสรรค์สะท้อนสังคม ทั้งนี้งานวิจัยฉบับนี้เป็นวิทยานิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ที่มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงอื่น ๆ เพื่อก่อเกิดความรู้และสามารถเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่จะศึกษางานทางด้านนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis “The creation of a dance from chaos theory” aims to study the forms and concepts obtained after creation of a dance from chaos theory using research methods, qualitative research and creative research. The research tools consist of surveying documentary data, interviews, information media, observation, tacit knowledge of the researcher and artist benchmarks. Bring the data to examine, analyze, synthesize and create the dance art according to the specified process.
The result shows that the style of the creation of a dance from chaos theory consists of 8 elements in the performance which are 1) Script: designed by using chaos theory analysis process. Separated into 4 acts which are attractor, butterfly effect, unstable and fractal 2) Casting: The researcher select actors with a variety of acting skills, including body shape, skin color, and gender in the performance. 3) Movements: using the style of movement in daily life (Everyday movement), improvisation according to the concepts of postmodern dance and dramatic movements. 4) Costume and makeup: The researcher re-design the daily costumes to make a different from the original styles and use white makeup to reduce the facial expressions of the actors. 5) Show props: use props that are easily seen in everyday life. 6) Sound and music: design the sound and music to be consistent with the script and use the method of recording and editing sound by computer program. 7) Scene and stage: design the scene by using video projection on the stage background and also the actors. Using black box theatre for the performance. 8) Lighting: using the light to mainly determine the area on the stage and create an empathy in the performance. Besides, there are 5 concepts obtained after creation of a dance from chaos theory which are 1) Chaos theory 2) Creativity in dance 3) Postmodern dance concepts 4) Diversity in dance 5) The concept of creative dance that reflects society. This research is a creative thesis in dance that connects knowledge in other fields in order to create knowledge and can be a guideline for those who will study creative dance in the future. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1349 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีไร้ระเบียบ |
|
dc.title.alternative |
The creation of a dance from chaos theory |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Vijjuta.V@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.1349 |
|