DSpace Repository

นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวภา เวชสุรักษ์
dc.contributor.author พิมวลี ดีสม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:53:49Z
dc.date.available 2020-11-11T11:53:49Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69696
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์และการมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นพิธีกรรมในการรักษาโรคตามคติความเชื่อของคนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรว่าผู้ป่วยมีสิ่งชั่วร้ายเข้าสิง จึงต้องให้มะม็วดซึ่งเป็นสตรีในสายตระกูลเท่านั้นมาทำพิธีเข้าทรงเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มากำจัดสิ่งชั่วร้ายนั้น พิธีมี 11 ขั้นตอน คือ 1. การปรับพื้นที่ตามฤกษ์ 2. การปลูกปะรำพิธี 3. การนำผู้ป่วยเข้าประจำที่ 4. การโหมโรงดนตรี 5. การไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ 6. การรำเข้าทรงของมะม็วด 7. การรำกำจัดสิ่งชั่วร้าย 8. การรำเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มาช่วยรักษา 9. การรำเชิญวิญญาณทั้งหมดกลับ 10. การรำเรียกขวัญผู้ป่วย 11.การรำลา นาฏกรรมในพิธีกรรมนี้ปรากฏอยู่ 3 วัตถุประสงค์ คือ 1. การรำบวงสรวง คือ การรำไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง 2. การรำรักษา คือ การรำดาบเพื่อฟันสิ่งชั่วร้าย 3. การรำเฉลิมฉลอง คือ การรำเพื่อยินดีกับผู้ป่วยที่รักษาหาย ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ไทย เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปและยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่กระบวนการการสร้างความสามัคคี อันนำไปสู่ความสงบสุขร่มเย็นของสังคมไทย
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is intended to study the Panjol Mamuad Ritual Performance of Surin Province by studying information from documents, interviews, firsthand observations and participation. The results of the research show that  Panjol Mamuad is a ritual for curing the disease according to the belief of the Khmer ethnic group that the patients have evil possessed. Therefore, Mamuad Come to perform a ceremony to invite the holy spirit to eliminate that evil. There are 11 steps: 1. Area adjustment. 2. Creating the ceremony 3. Taking the patient into place 4. Preluding the music. 5. Worshiping the holy spirit. 6. The dance of Mamuad 7. Dancing to eliminate evil. 8. Dancing to invoke the holy spirits to help in healing. 9. Dancing to dispatch all he spirits return. 10. Dancing to console peoples mind. 11. Dancing to farewell. The dances in this ritual appear in 3 objectives as following: 1. The dance to show respect and worship for all holy spirits. 2. Dance is a sword dance to eliminate evil. 3. The celebration dance is a dance to congratulate the patient who is healed. This research will be useful for the study of Thai dance, preserving and inheriting local arts and culture to thrive and can additionally be linked to the process of creating unity to the peace and tranquility of Thai society.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.844
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์
dc.title.alternative Panjol mamuad ritual performance of Surin province
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Savapar.V@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.844


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record