dc.contributor.advisor |
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
มนัสวี กาญจนโพธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:53:58Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:53:58Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69709 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่อง การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรำลิเกในรูปแบบของครูเด่นชัย เอนกลาภ ซึ่งเป็นเป็นบุคคลสำคัญทางวงการลิเก ที่มีกระบวนการสืบทอดการแสดงลิเกจากครูหอมหวล นาคศิริและครูละครจากวังสวนกุหลาบ ผนวกกับประสบการณ์ในการแสดงลิเกจนกระทั่งเป็นรูปแบบการรำเฉพาะทางที่มีความงาม ประเด็นที่ศึกษาประกอบไปด้วย การรำหน้าพาทย์เพลงเสมอออกภาษา ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครในการแสดงลิเก จำนวน 5 เพลง ได้แก่ 1. เพลงเสมอไทย 2. เพลงเสมอพม่า 3. เพลงเสมอมอญ 4. เพลงเสมอลาว 5. เพลงเสมอเขมร นอกจากการรำเพลงเสมอออกภาษาต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ศึกษาการรำที่สำคัญอีกคือการรำเข้าพระเข้านางหรือรำเกี้ยวเป็นการรำของตัวพระและตัวนางในบทรักใช้เพลงมะลิเลื้อย และการรำอวดความสามารถขี่ม้ารำทวน ที่เป็น ความถนัดเฉพาะของครูเด่นชัย เอนกลาภ
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า อัตลักษณ์การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ นั้นมีลักษณะวิธีการปฏิบัติในรูปแบบการรำตามโครงสร้างของเพลงในลักษณะเดียวกันกับทางนาฎศิลป์ไทยแต่กระบวนท่ารำนั้นแตกต่างออกไปตามความถนัดและทักษะของผู้แสดง การใช้ศีรษะและสายตาในทางการรำลิเกนั้นพบว่ามีลักษณะการเคลื่อนที่คือการกล่อมใบหน้าและการมองที่เป็นอิสระโดยสายตาส่วนใหญ่ของการรำลิเกนั้นจะเน้นมองไปหาผู้ชมเป็นหลัก การใช้มือในการปฏิบัติท่ารำพบว่าใช้การดึงมือออกไปข้างลำตัวให้มีลักษณะท่ารำหรือการตั้งวงที่กว้างขึ้นกว่าทางนาฎศิลป์ นอกจากนั้นยังพบอีกว่าครูเด่นชัย เอนกลาภ มีจุดเด่นในเรื่องของการตั้งวงที่มีความอ่อนของนิ้วมือเป็นอย่างมากจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลักษณะการตั้งวงและการใช้มือนั้นเกิดความงามเป็นรูปแบบเฉพาะทาง การใช้ลำตัวมีลักษณะการตั้งลำตัวตรง ไม่เกร็งบริเวณเอว ตั้งลำตัวตรงไม่ดันอกขึ้น การใช้เท้าพบว่ามีลักษณะสำคัญในการปฏิบัติท่ารำนั้น ยกเท้าที่สูง ยกส้นเท้าก่อนยกปลายเท้าเพื่อเป็นการทรงตัวในการวางเท้า
การรำลิเกนั้นเป็นการรำแบบอิสระสามารถด้นกระบวนท่ารำขึ้นเองได้ตามภูมิปัญญาและทักษะของผู้แสดงโดยเน้นตามความนิยมผู้ชมหากผู้ชมชอบการแสดงแบบไหนลิเกก็จะแสดงแบบนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นจึงทำให้การรำของลิเกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทาง และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งแต่อยู่บนพื้นฐานหลักการรำและการแสดงที่ได้รับถ่ายทอดจากครูลิเกต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
This study explored the uniqueness of Likay dancing style performed by Master Denchai Aneklapp, a remarkable Likay performer. His expertise in Likay performance, known as Thai folk opera, had been developed by learning from Master Homhuan Naksiri and other distinguished dance masters from Suankularb palace as well as experiences faced through his artistic career as a Likay performer. The domain of study includes the dance of Na Phat Okpasa songs, which are songs used as the accompanying song with the short walking manner of Likay characters. There are five songs in the set of Na Phat Okpasa which are (1) Samer Thai, (2) Samer Phama, (3) Samer Morn, (4) Samer Lao, and (5) Samer Karmen. Moreover, the courtship dance using Mali Leuy song and the dance of Khi Ma Ram Tuan (Horse riding with the lance) were analysed.
The study has found that the essence of Master Denchai Aneklapp’s dancing style was characteristically nearly in line with Thai traditional dancing style, except the fact that some dance patterns were varied upon the special talent and technique of the performer. The postures of the head and the move of eyes in Likay dance employed the Klom Nah motion with the non-form of eyes movement but usually focused directly at the audiences. The hands and arms positions were slightly wilder to the side than that of the Thai traditional dance position. Master Denchai Aneklapp has a salient Wong posture with the magnificent fingers bent backwards to the wrist. His core body was straight with relaxed muscles of the sides, without lifting the chest. Additionally, the foot was at a high level, raising the heel before the tiptoe for body balancing.
Improvisation and adaptation play a crucial role in Likay dancing, depending on personal dancing skill and technic of each Likay performers. The dancing style is also compromised by the appreciation of the audiences, so, this could be the identity of Likay performance. However, Likay performance has its opportunity to continue to develop through the foundation of dance and play trained by Likay experts. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.845 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
การรำลิเก ทาง ครูเด่นชัย เอนกลาภ |
|
dc.title.alternative |
Likay dance of Denchai Aneklaap style |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Anukoon.R@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.845 |
|