DSpace Repository

การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
dc.contributor.author ณัฐนันท์ วิทยเตชะกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T12:38:30Z
dc.date.available 2020-11-11T12:38:30Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69851
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่ออธิบายการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผลการวิจัยพบว่าการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อ ดังนี้ (1) ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตและการสื่อสารภาวะวิกฤตในทุกช่วงชีวิตของภาวะวิกฤต ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤต (Pre-crisis) ช่วงเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Crisis-event) และช่วงหลังเหตุการณ์ภาวะวิกฤต (Post-crisis) (2) ทีมงานในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการภาวะวิกฤต โดยเฉพาะด้านการสื่อสารและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การทำงานร่วมกันกับบริษัทตัวแทน เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ภายในองค์กรมีปริมาณมากเกินกว่าที่องค์กรจะดูแลข้อมูลทั้งหมดได้ด้วยตนเอง และ (4) บทบาทที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตในอนาคต โดยการนำเอาข้อมูลขนาดใหญ่ที่องค์กรมีอยู่มาใช้ในการพยากรณ์ (Prediction) นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต ได้แก่ (1) ข้อมูลขนาดใหญ่ยังมีความพร้อมไม่เพียงพอ (2) การคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ทำได้ยาก (3) การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้แอปพลิเคชันสนทนา (4) ความเชื่อมั่นในปัญญาประดิษฐ์ (5) ความสามารถของผู้ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ และ (6) ระยะเวลาในการเรียนรู้และดำเนินงาน
dc.description.abstractalternative This research on the application of big data in crisis management and communications by mobile service providers is conducted as a qualitative research. The aim of this study are to explain the big data application in crisis management and communications of mobile service providers as well as to examine the problems and obstacles concerning this issue. The research utilized in-depth interview method in which the interviewees were chosen on the basis of purposive sampling, dividing the interviewees into 3 distinct groups. The result shows that there are 4 issues in regard to the big data usage in crisis management and communications of mobile service providers which are (1) the big data is applicable in every period of a particular crisis which are the pre-crisis, the crisis event and the post-crisis periods; (2) the crew who is in charge of the big data usage in crisis management focusing on communications and information technology; (3) the cooperation between the organizations and the agencies when the amount of big data inevitably exceeds the capacity of organization’s management and (4) the growing role of big data in crisis management and communications in the future based on the prediction of the existing big data. In addition, the research finds that there are problems and obstacles risen from the big data usage in crisis management and communications which are (1) the practical inefficiency of the big data; (2) the difficulty in predicting human behaviors; (3) the growing numbers of chatting application users; (4) the trusting in artificial intelligence; (5) the capability of the big data users and (6) the duration of process learning and practicing
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.856
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
dc.title.alternative Using big data in crisis management and communications of mobile service provider
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.856


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record